อันตราย ของ โฟมทะเล

ความเป็นพิษ

โฟมทะเลที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่เป็นพิษโดยเนื้อแท้ อย่างไรก็ตามการสัมผัสกับสารปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นสูงในผิวหน้าของน้ำทะเล ทั้งจากการเน่าเปื่อยของสาหร่ายจำนวนมาก การผลิตและการขนส่งเชื้อเพลิงฟอสซิล และสื่งปฏิกูลที่ถูกพัดพาหลังพายุ[1] สารปนเปื้อนเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดโฟมทะเลที่เป็นพิษผ่านการดูดซับลงบนผิวของฟองอากาศ ฟองอาจแตกกระเซ็นและปล่อยสารพิษไปกับฝอยน้ำสู่บรรยากาศ ที่เรียกว่า ละอองคลื่น หรือ ละอองลอย หรืออาจยังคงอยู่ในฟอง สารพิษที่ปล่อยออกมาทางละอองลอยและฟองอากาศแตกสามารถสูดดมได้โดยมนุษย์ จุลินทรีย์ที่ใช้โฟมทะเลเป็นที่อยู่อาศัยได้เพิ่มความไวต่อการสัมผัสสารปนเปื้อน[9] ดังนั้นสารพิษเหล่านี้สามารถรวมเข้ากับวัฏจักรอาหาร

สาหร่ายสะพรั่งที่เป็นอันตราย

โฟมสามารถก่อตัวขึ้นหลังจากการย่อยสลายของสาหร่ายสะพรั่งที่เป็นอันตราย (HABs) นอกจากประกอบด้วยสาหร่ายแล้ว ยังประกอบด้วย ไดโนแฟลเจลเลต และ ไซยาโนแบคทีเรีย[10] ชีวมวลจากสาหร่ายสะพรั่งที่เน่าเปื่อยจะรวมอยู่ในโฟมทะเลในชั้นบนสุดของผิวน้ำทะเล[8] เมื่อโฟมทะเลที่รวมเข้ากับแตกตัวสารพิษจากสาหร่ายจะแตกกระเซ็นสู่อากาศทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ[11] ได้แก่ สาหร่าย Phaeocystis globosa ในเนเธอร์แลนด์ การสะสมชีวมวลปริมาณมากทำให้สามารถสร้างโฟมพิษจำนวนมากและมักจะซึมลงบนชายหาด

กิจกรรมของมนุษย์

ในขณะที่โฟมทะเลเป็นผลมาจากการปั่นป่วนของน้ำทะเลที่มีส่วนผสมของสารอินทรีย์ในชั้นผิวหน้ามหาสมุทร หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งสามารถนำไปสู่การผลิตโฟมที่มากเกินไปและมักเป็นพิษ[1] นอกจากน้ำมันอินทรีย์ กรดและโปรตีนที่สะสมอยู่ในชั้นบนสุดของผิวน้ำทะเลแล้ว สารประกอบจากการผลิตและขนส่งปิโตรเลียม เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเครื่องที่ปล่อยหรือรั่วออกจากเรือบรรทุกน้ำมัน สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์เช่นผงซักฟอก สิ่งปฏิกูล และการใช้ยาฆ่าแมลงสามารถเข้าสู่ผิวน้ำทะเลและรวมอยู่ในโฟมได้ และสร้างโฟมที่มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ในการศึกษาหนึ่งพบว่า polychlorinated biphenyls (PCBs) ซึ่งเป็นมลพิษอินทรีย์แบบถาวรพบว่าสะสมอยู่ในโฟมทะเล[9]

แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและสถานีรับ-เก็บ อาจมีส่วนร่วมในการสร้างโฟมทะเล จากกระบวนการใช้น้ำทะเลเพื่อเปลี่ยนแก๊สธรรมชาติเป็นแก๊สธรรมชาติเหลว[12] การศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่ามี โพรแคริโอต (อาร์เคียและแบคทีเรีย) และไซยาโนแบคทีเรียในโฟมที่สร้างขึ้นใกล้กับสถานีก๊าซธรรมชาติเหลว โพรแคริโอตเหล่านี้สามารถรีไซเคิลสารเคมีที่ปล่อยออกมาจากสถานีซึ่งทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อื่น นอกจากนี้มีการบันทึกว่าระดับอินทรีย์คาร์บอนรวม (TOC) ที่สูงขึ้นและชีวมวลของแพลงก์ตอนในโฟมทะเลที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้กับสถานีก๊าซธรรมชาติ อินทรีย์คาร์บอนหลังจากดูดซึมโดยโปรคาริโอตจะถูกถ่ายไปยังวัฏจักรอาหารโดยการกลืนกินของสัตว์กินพืช[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โฟมทะเล http://www.dailytelegraph.com.au/news/nsw-act/yamb... http://news.ninemsn.com.au/national/2013/01/28/12/... http://www.sunshinecoastdaily.com.au/story/2008/01... http://www.sunshinecoastdaily.com.au/story/2008/01... http://www.sunshinecoastdaily.com.au/story/2008/02... http://www.abc.net.au/news/2016-06-07/sea-foam-whi... http://www.abc.net.au/news/2017-03-28/thick-sea-fo... http://www.hoax-slayer.com/whipped-ocean-foam.shtm... http://www.myfoxdc.com/dpp/weather/storm_chasers/t... http://english.ohmynews.com/articleview/article_vi...