โควิด-19 ของ โมลนูพิราเวียร์

หลังจากพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการทดสอบโมลนูพิราเวียร์ในการศึกษาเบื้องต้นในมนุษย์เรื่อง "ความปลอดภัย, ความทนทานต่อยา และเภสัชจลนศาสตร์" ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ[6] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 บริษัทริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ประกาศว่าจะเริ่มต้นทดลองในระยะที่ 2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาในการรักษาโควิด-19[7] การทดลองสองครั้งของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและที่ไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลในสหรัฐและสหราชอาณาจักรดำเนินการในเดือนกรกฎาคม[8][9] ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยที่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางการแพทย์ใด ๆ บริษัทเมอร์ค ซึ่งเป็นพันธมิตรกับริดจ์แบ็ก ไบโอเทราพิวติกส์ ในการพัฒนายาได้ประกาศความตั้งใจที่จะเริ่มการทดลองขั้นสุดท้ายของยาโมลนูพิราเวียร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563[10] เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เมอร์คเริ่มการทดลองระยะที่ 2/3 เป็นเวลา 1 ปี โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[11]

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ได้มีการเผยแพร่บทความซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ เกี่ยวกับผลการศึกษาของการรักษาเฟร์ริตที่ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยยาโมลนูพิราเวียร์[12] จากการศึกษาพบว่ายามีประสิทธิภาพ "เมื่อให้ทางปากกับเฟร์ริตที่ติดเชื้อ และป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสระหว่างเฟร์ริตหลังจาก 24 ชั่วโมงภายหลังการให้ยา