โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
โรคพยาธิใบไม้ในเลือด

โรคพยาธิใบไม้ในเลือด

โรคพยาธิใบไม้ในเลือด (Schistosomiasis) (โรคพยาธิใบไม้ชิสโตโซมา, รู้จักกันในชื่ออื่นๆ ว่า บิลฮาร์เซีย (Bilharzia), ไข้หอยทาก (Snail fever) และ ไข้กาตายามา (Katayama fever))[1][2] เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจาก หนอนพยาธิ ชนิด ชิสโตโซมา เป็นตัวที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ใน ทางเดินปัสสาวะ หรือ ลำไส้ อาการที่อาจจะมี ได้แก่ ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือดหรือมีเลือดปนใน ปัสสาวะ สำหรับผู้ที่ได้ติดเชื้อมาเป็นเวลานาน อาจเกิดภาวะตับเสีย ไตวาย ภาวะเป็นหมัน หรือ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ได้ สำหรับเด็ก โรคดังกล่าวอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเจริญเติบโตช้าและความลำบากในการเรียนรู้[3]โรคดังกล่าวแพร่กระจายโดยทางการติดต่อสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีพยาธินั้น พยาธิเล่านี้จะถูกปล่อยออกมาจาก หอยทากน้ำจืดซึ่งติดเชื้อมาแล้ว โรคดังกล่าวมักพบทั่วไปโดยเฉพาะในเด็กที่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากที่พวกเขาจะลงเล่นในแหล่งน้ำที่มีการติดเชื้อ กลุ่มความเสี่ยงสูงอื่นๆ ได้แก่ ชาวไร่ชาวนา ชาวประมง รวมทั้งผู้ที่อาศัยแหล่งน้ำทำภาระกิจประจำวันซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีการติดเชื้อแล้ว[3] โรคดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่ม โรคติดเชื้อหนอนพยาธิ[4] การวินิจฉัยโรคกระทำได้โดยการหาไข่ของพยาธิในปัสสาวะหรืออุจจาระ นอกจากนั้นยังสามารถยืนยันโรคได้โดยการหา แอนติบอดี ในเลือดที่ต่อต้านโรคดังกล่าว[3]วิธีการป้องกันโรค ได้แก่ การปรับปรุงแหล่งน้ำสะอาดและลดจำนวนหอยทากลง ในบริเวณที่มักพบโรค อาจต้องมีการรักษาทั้งกลุ่มภายในครั้งเดียวกันและทำเป็นประจำทุกปีโดยการให้ยา พราซิควอนเทล ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ จึงเป็นการลดการแพร่กระจายของโรคไปด้วย นอกจากนั้นยาพราซิควอนเทลยังเป็นวิธีการรักษาที่แนะนำโดย องค์การอนามัยโลก สำหรับผู้ที่ทราบชัดว่าติดเชื้อดังกล่าว[3]โรคพยาธิใบไม้ในเลือดส่งผลให้กับคนทั่วโลกเป็นจำนวนเกือบ 210 ล้านคน[5] และประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีราว 12,000[6] ถึง 200,000 คนที่เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว[7] โรคดังกล่าวพบทั่วไปมากที่สุดใน แอฟริกา เช่นเดียวกับใน เอเชีย และ อเมริกาใต้[3] มีประมาณ 700 ล้านคนตามประเทศต่างๆ มากกว่า 70 ประเทศที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่โรคดังกล่าวเป็นที่พบทั่วไป[7][8] โรคพยาธิใบไม้ในเลือดเป็นเพียงที่สองรองจาก โรคมาเลเรีย ในฐานะเป็นโรคทางพยาธิที่มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงที่สุดต่อเศรษฐกิจ[9] ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลจนถึงต้นศตวรรษที่ ๒๐ อาการของโรคพยาธิใบไม้ในเลือดคือ เลือดปนในปัสสาวะ ในประเทศ อียิปต์ ถูกมองว่าเป็น ประจำเดือนแบบของเพศชาย จึงได้รับการพิจารณาให้เป็น พิธีผ่านเข้าสู่วงจรชีวิตช่วงต่อไป สำหรับเด็กผู้ชาย[10][11] มีการจำแนกประเภทโรคดังกล่าวให้เป็น โรคเขตร้อนที่ถูกละเลย[12]

โรคพยาธิใบไม้ในเลือด

ICD-10 B65
MeSH D012552
MedlinePlus 001321
ICD-9 120

ใกล้เคียง

โรคพยาธิกีเนีย โรคพยาธิแส้ม้า โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคพยาธิตาบอด โรคพยาธิหอยโข่ง โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพยาธิใบไม้ในเลือด http://www.scielo.cl/scielo.php?pid=S0717-73562000... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=120 http://www.cdc.gov/globalhealth/ntd/diseases/index... http://wwwnc.cdc.gov/travel/yellowbook/2014/chapte... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22325616 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23245604 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23813602 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2020/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2...