วงชีวิตของพยาธิ ของ โรคพยาธิไส้เดือน

พยาธิตัวเต็มวัย (1) อาศัยในลำไส้เล็ก ตัวเมียจะออกไข่ประมาณ 200,000 ฟองต่อวัน ซึ่งจะออกมาพร้อมกับอุจจาระ (2) ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมแม้จะออกมากับอุจจาระและถูกรับประทานก็จะไม่ทำให้ติดเชื้อต่อไป ส่วนไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญเป็นเอ็มบริโอและกลายเป็นระยะติดต่อใน 18 วันหรือหลายสัปดาห์ (3) ขึ้นกับสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม คือ ดินชื้น อบอุ่น และมีร่มเงา หลังจากระยะติดต่อคือไข่ถูกกลืนเข้าไป (4) ตัวอ่อนจะฟักออกจากไข่ (5) และไชทะลุเยื่อเมือกของลำไส้ ผ่านทางระบบเลือดพอร์ทัล ระบบเลือดเลี้ยงกาย และ/หรือระบบน้ำเหลืองเข้าสู่ปอด ตัวอ่อนจะเจริญต่อภายในปอด (6) (10-14 วัน) ไชทะลุผ่านผนังถุงลม เคลื่อนขึ้นไปยังกิ่งก้านหลอดลมและช่องคอ จากนั้นถูกกลืนกลับ (7) เข้าไปยังลำไส้เล็กและเจริญเป็นตัวเต็มวัย (8) ทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนตั้งแต่การรับประทานไข่พยาธิจนถึงพยาธิตัวเมียวางไข่ พยาธิตัวเต็มวัยสามารถมีชีวิตได้ถึง 1-2 ปี

ไข่จะเริ่มปรากฏในอุจจาระประมาณวันที่ 60-70 อาการจากการติดเชื้อพยาธิตัวอ่อนจะเกิดราว 4-16 วันหลังจากการติดเชื้อ อาการสุดท้ายคือปวดท้อง อาเจียน เป็นไข้ พบไข่พยาธิในอุจจาระ ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเกี่ยวกับปอดหรือความผิดปกติของระบบประสาทจากการไชผ่านร่างกายของพยาธิตัวอ่อน อย่างไรก็ตามทั่วไปมักมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ก้อนกระจุกของพยาธิอาจอุดกั้นทางเดินอาหาร การไชของตัวอ่อนอาจทำให้เกิดปอดอักเสบหรืออีโอสิโนฟิเลีย (eosinophilia)

ใกล้เคียง

โรคพยาธิกีเนีย โรคพยาธิแส้ม้า โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิใบไม้ในเลือด โรคพยาธิตาบอด โรคพยาธิหอยโข่ง โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคพยาธิไส้เดือน http://www.diseasesdatabase.com/ddb934.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=127.... http://www.sp01.com/micro/worms/imagepages/image1.... http://dave1.mgh.harvard.edu/ViewFilms.cfm?film_id... http://www.personal.psu.edu/users/n/c/ncj111/Human... http://www.dpd.cdc.gov/dpdx/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11960011 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC122804 http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2020/MB_cgi?field=... http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/00...