การรักษา ของ โรคย้ำคิดย้ำทำ

การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิด (BT), การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT), และการใช้ยาทางจิตเวช เป็นวิธีการรักษาที่นิยมที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ[9] ยาจิตเวชที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐมีทั้งหมด 5 ตัว [10]

  1. Clomipramine [Anafranil]
  2. Fluoxetine [Prozac]
  3. Fluvoxamine
  4. Paroxetine [Paxil, Pexeva; โดยเป็น anticholinergic ระดับ 3 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระยะยาว][11]
  5. Sertraline [Zoloft]

ส่วนยาที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ แต่บางผลวิจัยพบว่ามีประโยชน์ ได้แก่ venlafaxine​ [12]

โรคย้ำคิดย้ำทำ​ สามารถรักษาด้วยเครื่อง Deep Transcranial Magnetic Stimulation (DTMS) ได้ หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยา โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐได้รับรอง DTMS ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม​ 2018 เป็นต้นไป [13] การรักษาดังกล่าวเป็นการเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายเครื่อง MRI ผ่านกระโหลกศีรษะไปยังสมอง สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ประสาทในบริเวณนั้น ในผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ จะมีการกระตุ้นสมองในส่วน Posterior-Anterior ใน Medial Prefrontal Cortex ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติได้[14] โรงพยาบาลรัฐบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช [15] และโรงพยาบาลทั่วไป หลายแห่งในประเทศไทยมีการรักษาในรูปแบบดังกล่าว ทั้งนี้ FDA ไม่ได้อนุมัติ​ TMS แบบธรรมดาในการรักษา OCD เนื่องจากระดับความลึกในการรักษาไม่เพียงพอ คงอนุมัติเฉพาะ DTMS เท่านั้น[16][17]

นอกจากนี้จิตบำบัดแบบจิตพลวัตอาจช่วยรักษาอาการบางอย่างของโรคนี้ได้ และสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่าจิตวิเคราะห์ หรือจิตบำบัดแบบพลวัตนั้นสามารถรักษาอาการหลักของโรคย้ำคิดย้ำทำได้[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคย้ำคิดย้ำทำ http://visitdrsant.blogspot.com/2015/03/anticholin... http://www.diseasesdatabase.com/ddb33766.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=300.... http://emedicine.medscape.com/article/287681-overv... http://www.pslgroup.com/dg/25F8A.htm http://www.nimh.nih.gov/health/topics/obsessive-co... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17849776 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19853982 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23792752 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25875222