โรคลุดวิก
โรคลุดวิก

โรคลุดวิก

โรคลุดวิก หรือ ลุดวิก แองไจนา[2] (อังกฤษ: Ludwig's angina)) เป็นเซลลูลิทิสรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่มีการอักเสบที่ส่วนพื้นของปาก[3] อาจส่งผลต่อความลำบากในการกลืนน้ำและน้ำลาย[4] และอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมงกรณีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามหลังการติดเชื้อในฟัน[4] นอกจากนี้ยังพบกรณีที่เกิดจากหนองพาราฟาริงซ์, การแตกหักของกระดูกแมนดิบูลาร์, แผลในปาก หรือจาก นิ่วน้ำลายซับแมนดิบูลาร์[5] โรคลุดวิกเป็นผลจากการกระจายของการติดเชื้อในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผ่านช่องว่างเนื้อเยื่อกับช่องว่างสับลิงกวล[1]โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการรักษาการตืดเชื้อที่ฟัน การรักษาแรกด้วยยาปฏิชีวนะแบบกว้าง และ คอร์ติโคสเตอรอยด์[1] ในกรณีที่สาหัสอาจต่อท่อหายใจ หรือ ทำทราเคโอสโทมี[1]ภายหลังการแพร่หลายของยาปฏิชีวนะในทศวรรษ 1940s, การปรับปรุงความสะอาดของช่ิงปากในประชาชน และการรักษาด้วยหัตถการที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาก อัตราเกิดโรคและอัตราเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ชื่อลุดวิกตั้งตามแพทย์ชาวเยอรมัน Wilhelm Frederick von Ludwig ผู้เขียนอธิบายถึงโรคนี้ครั้งแรกในปี 1836[6]

โรคลุดวิก

อาการ ไข้, ปวด, ลิ้นหนา, มีปัญหากับการกลืน, คอบวมโต[1]
สาขาวิชา โสตศอนาสิกวิทยา, ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้าขากรรไกร
วิธีวินิจฉัย ตามอาการ, ซีทีสแกน[1]
ภาวะแทรกซ้อน การกดทับทางหายใจ[1]
ปัจจัยเสี่ยง การติดเชื้อในฟัน[1]
การรักษา ยาปฏิชีวนะ, คอร์ติโคสเตอรอยด์, สอดท่อหายใจทางเทรเคีย, ทราเคโอสโตมี[1]
ชื่ออื่น ลุดวิกแองไจนา, Angina Ludovici
การตั้งต้น ฉับพลัน[1]