โรควัวบ้า
โรควัวบ้า

โรควัวบ้า

โรคสมองรูปฟองน้ำวัว (อังกฤษ: bovine spongiform encephalopathy, ย่อ: BSE) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า โรควัวบ้า เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท (โรคสมอง) ถึงตายในปศุสัตว์ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมฟองน้ำ (spongy degeneration) ในสมองและไขสันหลัง โรควัวบ้ามีระยะฟักนาน ราว 30 เดือนถึง 8 ปี ปกติมีผลต่อปศุสัตว์โตเต็มวัยโดยมีอายุตั้งต้นสูงสุดที่สี่ถึงห้าปี ทุกสายพันธุ์ไวรับเท่ากัน[1] ในสหราชอาณาจักร ประเทศซึ่งได้รับผลมากที่สุด มีปศุสัตว์ติดเชื้อกว่า 180,000 ตัว และถูกฆ่า 4.4 ล้านตัวระหว่างโครงการกำจัด[2]โรคนี้อาจส่งผ่านสู่มนุษย์ได้ง่ายที่สุดโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสมอง ไขสันหลังหรือทางเดินอาหารของสัตว์ที่ติดเชื้อ[3] ทว่า เชื้อก่อโรคซึ่งแม้กระจุกในเนื้อเยื่อประสาทสูงสุด แต่สามารถพบได้แทบทุกเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือด[4] ในมนุษย์ถือว่าโรคนี้เป็นชนิดย่อย (variant) หนึ่ง ของโรคครอยท์ซเฟลดท์–ยาคอบ (vCJD หรือ nvCJD) และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 166 คนในสหราชอาณาจักร และที่อื่น 44 คน[5] มีสัตว์ที่ติดเชื้อ BSE ระหว่าง 460,000 ถึง 482,000 ตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ก่อนมีการริเริ่มควบคุมเครื่องในสัตว์ความเสี่ยงสูงในปี พ.ศ. 2532 สาเหตุของโรคเกิดจาก พรีออน ซึ่งเป็น คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน พรีออนเป็นปรสิตต่อคนและสัตว์[6]