ประวัติ ของ โรคเกาต์

อังตวน แวน เลเวนฮุคอธิบายลักษณะโมเลกุลของผลึกกรดยูริกในปีค.ศ. 1679 (พ.ศ. 2222)[49]

คำว่า "เกาต์" ถูกใช้ครั้งแรกโดยแรนดอลฟัส แห่ง บ็อกกิง เมื่อประมาณปีค.ศ. 1200 (พ.ศ. 1743) คำนี้รับมาจากคำในภาษาลาติน gutta แปลว่า "หยด" (ของเหลว)[49] ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary) คำนี้มาจากธาตุ และ "แนวคิดของ 'การหยด' ของสิ่งแปลกปลอมจากเลือดในข้อต่อและบริเวณรอบ ๆ"[50]

อย่างไรก็ตาม โรคเกาต์เป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตจะถูกเรียกว่า "ราชาของโรคและโรคของราชา"[6][51] หรือ "โรคของคนรวย"[52] หลักฐานชิ้นแรกเกี่ยวกับโรคนี้มาจากประเทศอียิปต์เมื่อ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ในคำอธิบายของโรคข้ออักเสบของนิ้วหัวแม่เท้า แพทย์ชาวกรีกชื่อฮิปพอคราทีสได้ให้ความคิดเห็นเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาลในแง่คิด ของเขาโดยตั้งข้อสังเกตว่าโรคเกาต์จะไม่เกิดกับขันทีและสตรีวัยเจริญพันธุ์[49][53] ออร์ลุส คอร์เนลุส เคลซุส (ค.ศ. 30) อธิบายความเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเริ่มตรวจพบในเพศหญิง และ ปัญหาไตที่เกี่ยวข้อง:

นอกจากนี้ ปัสสาวะข้นที่ตกตะกอนสีขาวแสดงให้เห็นว่าความเจ็บปวดและโรคต้องได้รับการรักษาบริเวณข้อต่อหรืออวัยวะภายใน... ปัญหาข้อต่อมือและเท้าเกิดขึ้นบ่อยมากและกินเวลานานเช่นที่เกิดขึ้นในกรณีของโพดากราและเชอิรากรา อาการเหล่านี้แทบจะไม่เกิดขึ้นกับขันทีหรือเด็กผู้ชายก่อนการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงและไม่เกิดกับผู้หญิงยกเว้นผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน... บางคนมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตโดยการละเว้นจากไวน์ สุราและ การมีเพศสัมพันธ์[54]

ในปีค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) โทมัส ซิดเดนแฮม แพทย์ชาวอังกฤษ ได้อธิบายการกำเริบของโรคเกาต์ในช่วงเช้ามืดและการที่เพศชายที่มีอายุมากมักพบปัญหามากกว่า:

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกาต์โดยทั่วไปจะเป็นชายชรา หรือ ชายที่บั่นทอนสุขภาพของตนในวัยเยาว์จนกระทั่งนำมาซึ่งความชราก่อนวัยอันควร ในบรรดาพฤติกรรมเสเพลต่าง ๆ ไม่มีสิ่งใดที่พบบ่อยไปกว่าความหลงระเริงก่อนวัยอันควรและมากเกินไปในกามารมย์ และ ความชอบที่สร้างความเหน็ดเหนื่อยในทำนองเดียวกัน ผู้ป่วยสามารถเข้านอนและหลับเหมือนมีสุขภาพดี ก่อนที่จะถูกปลุกให้ตื่นประมาณตีสองด้วยอาการปวดอย่างรุนแรงที่นิ้วหัวแม่เท้า; บางครั้งที่ส้นเท้า ข้อเท้า หรือ หลังเท้า ความเจ็บปวดเหมือนกับว่าอวัยวะเหล่านั้นเคลื่อน นอกจากนี้บางส่วนยังรู้สึกเหมือนกับถูกราดด้วยน้ำเย็น จากนั้นตามด้วยอาการหนาวสั่น ตัวสั่นและมีไข้เล็กน้อย... ค่ำคืนผ่านไปด้วยความทรมาน การนอนไม่หลับ การพลิกอวัยวะส่วนที่เจ็บและการเปลี่ยนท่านอนตลอดเวลา; ตัวโยนไปมาไม่หยุดหย่อนเพราะความเจ็บปวดของข้อต่อที่ได้รับความทรมาน และยิ่งเลวร้ายเมื่ออาการต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อมกัน[55]

นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ อังตวน แวน เลเวนฮุค ได้อธิบายลักษณะโมเลกุลของผลึกเกลือยูเรทเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1679 (พ.ศ. 2222)[49] ต่อมาในปีค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391) แพทย์ชาวอังกฤษ อัลเฟรด แบริง แกร์รอด ได้ค้นพบว่ากรดยูริกส่วนเกินในเลือดเป็นสาเหตุของโรคเกาต์[56]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคเกาต์ http://books.google.ca/books?id=y13wgJyQwkEC&pg=PA... http://www.arthritisconsult.com/gout.html#risk http://ard.bmjjournals.com/cgi/content/full/58/5/2... http://bmj.bmjjournals.com/cgi/content/full/320/72... http://www.diseasesdatabase.com/ddb29031.htm http://www.emedicine.com/emerg/topic221.htm http://www.emedicine.com/med/topic1112.htm http://www.emedicine.com/med/topic924.htm http://www.emedicine.com/oph/topic506.htm http://www.emedicine.com/orthoped/topic124.htm