การระบาด ของ โรคโปลิโอ

ดูบทความหลักที่: การกำจัดโรคโปลิโอ
ผู้ป่วยโปลิโอที่ได้รับรายงานใน ค.ศ. 2013[10][11]
ประเทศผู้ป่วยจากธรรมชาติผู้ป่วยจากวัคซีนที่หมุนเวียนสถานะการแพร่เชื้อ
โซมาเลีย1891จากนอกประเทศ
ปากีสถาน9144ประจำถิ่น
ไนจีเรีย533ประจำถิ่น
ซีเรีย160จากนอกประเทศ
เคนยา140จากนอกประเทศ
อัฟกานิสถาน133จากนอกประเทศ 12 คน
ประจำถิ่น 1 คน
เอธิโอเปีย90ประจำถิ่น
แคเมอรูน44ประจำถิ่น
ชาด04เฉพาะจากวัคซีนที่หมุนเวียน
ไนเจอร์01เฉพาะจากวัคซีนที่หมุนเวียน
รวม38560

แม้ว่าปัจจุบันโรคโปลิโอจะพบน้อยในโลกตะวันตก แต่โรคโปลิโอยังพบประจำถิ่นในเอเชียใต้และทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศปากีสถานและไนจีเรียตามลำดับ นับแต่มีการใช้วัคซีนโปลิโอไวรัสอย่างกว้างขวางในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 อุบัติการณ์ของโรคโปลิโอลดลงอย่างมากในประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ

ความพยายามในการกำจัดโปลิโอทั่วโลกเริ่มต้นใน ค.ศ. 1988 โดยมีองค์การอนามัยโลก ยูนิเซฟและมูลนิธิโรตารีเป็นผู้นำ[12] ความพยายามเหล่านี้ลดจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยต่อปีลง 99% จากผู้ป่วยที่ประเมิน 350,000 คนใน ค.ศ. 1988 เหลือเพียง 483 คนใน ค.ศ. 2001 ซึ่งหลังจากปีนั้น จำนวนผู้ป่วยยังคงที่อยู่ที่ระดับราว 1,000 คนต่อปี (1,606 คนใน ค.ศ. 2009)[13][14][15] ใน ค.ศ. 2012 ผู้ป่วยลดลงเหลือ 223 คน[16] โปลิโอเป็นหนึ่งในสองโรคที่เป็นหัวข้อโครงการกำจัดทั่วโลกในปัจจุบัน อีกโรคหนึ่งคือ โรคพยาธิกินี จวบจนปัจจุบัน โรคสองชนิดที่ถูกมนุษย์กำจัดไปอย่างสมบูรณ์คือ โรคฝีดาษ ซึ่งหมดไปใน ค.ศ. 1979[17] และโรครินเดอร์เปสต์ ใน ค.ศ. 2010[18]

ปัจจุบันหลายภูมิภาคในโลกได้รับการประกาศแล้วว่าปลอดโรคโปลิโอ ทวีปอเมริกาได้รับการประกาศใน ค.ศ. 1994[19] ใน ค.ศ. 2000 มีการประกาศว่าโปลิโอถูกกำจัดอย่างเป็นทางการในประเทศแปซิฟิกตะวันตก 37 ประเทศ รวมถึงประเทศจีนและออสเตรเลีย[20][21] ทวีปยุโรปได้รับการประกาศว่าปลอดโปลิโอใน ค.ศ. 2002[22] ใน ค.ศ. 2013 โปลิโอยังประจำถิ่นในสามประเทศเท่านั้น คือ ไนจีเรีย ปากีสถานและอัฟกานิสถาน[13][23] แม้ว่าจะยังก่อโรคระบาดทั่วในประเทศใกล้เคียงอื่นได้เนื่องจากการแพร่เชื้อแบบซ่อนหรือกลับมามีอีกครั้ง[24] ตัวอย่างเช่น มีการยืนยันว่ามีการระบาดทั่วในประเทศจีนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 แม้ว่าโรคโปลิโอในประเทศจีนจะถูกกำจัดหมดไปแล้วเมื่อสิบปีก่อน โดยสายพันธุ์โปลิโอที่ก่อโรคนั้นเป็นสายพันธุ์ที่พบในประเทศปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน[25] ไม่มีรายงานผู้ป่วยการติดเชื้อโรคโปลิโอจากธรรมชาติในประเทศอินเดียตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2011 และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ประเทศอินเดียถูกนำออกจากรายการประเทศซึ่งโปลิโอประจำถิ่นขององค์การอนามัยโลก[26][27]

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2014 องค์การอนามัยโลกประกาศว่าโรคโปลิโอถูกกำจัดหมดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยสิบเอ็ดประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทยและติมอร์ตะวันออก[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคโปลิโอ http://www.scq.ubc.ca/polio.pdf http://www.cnn.com/2011/09/21/health/china-polio-o... http://www.diseasesdatabase.com/ddb10209.htm http://www.emedicine.com/ped/topic1843.htm http://www.emedicine.com/pmr/topic6.htm http://abcnews.go.com/Health/wireStory/pakistan-ci... http://images.google.com/images?q=polio&q=source:l... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=045 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=138 http://www.nytimes.com/2011/02/01/health/01polio.h...