ประวัติโรงพยาบาล ของ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี

  • พ.ศ. 2443 ก่อตั้งกองการพยาบาล 1 กอง ในกรมทหารบกนครราชสีมา มี พล.ต. ม.จ. ศรีไศเฉลิมศักดิ์ เป็นผู้บังคับบัญชา สำหรับกองพยาบาลนั้นมี ร.อ. หลวงบำรุงรสระงับพยาธิ ( ชื่น ) แพทย์แผนโบราณเป็นผู้บังคับกอง แบ่งการรักษาออกเป็น ๒ แผนก คือ คนไข้ทางยา และ คนไข้ทางบาดแผล ยาที่ใช้เป็นยาแผนโบราณ เช่น ยาต้มและยาผง พื้นที่ทำการเป็นโรงไม้พื้นกระดานฝาขัดแตะและหลังคามุงแฝกหนึ่งโรง เป็นที่รักษาพยาบาลและที่ทำการด้วย จุคนไข้ประมาณ 100 คน
  • พ.ศ. 2447 กรมทหารบกนครราชสีมา ได้เปลี่ยนเป็น กองพลที่ 5 ดังนั้น กองพยาบาลจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพยาบาลที่ 5
  • พ.ศ. 2468 ได้เปลี่ยนชื่อกองพยาบาลในกองพลทหารบกที่ 5 มาเป็น กองเสนารักษ์ ในกองพลทหารบกที่ 5
  • พ.ศ. 2493 กอง. สร. มณฑล 3 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลภาคที่ 2 และไปขึ้นการบังคับบัญชากับภาคทหารบกที่ 2
  • พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลภาคทหารบกที่ 2 เป็น โรงพยาบาลสุรนารี โอนการบังคับบัญชาไปขึ้นกับ มทบ. 3
  • พ. ศ. 2504 ขึ้นการบังคับบัญชากองทัพภาคที่ 2
  • พ. ศ. 2507 โรงพยาบาลสุรนารี ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิม ( กองพันเสนารักษ์ที่ 3 ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่บริเวณหนองนางแหนบ ( บุ่งตาหลั่ว)
  • พ. ศ. 2509 โอนการบังคับบัญชาไปขึ้นกับมณฑลทหารบกที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง
  • พ. ศ. 2512 โอนการบังคับบัญชา โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ไปขึ้นกับกองทัพภาคที่ 2 เป็นโรงพยาบาลทั่วไปของกองทัพบก ขึ้นตรงการบังคับบัญชาต่อกองทัพภาคที่ 2
  • พ.ศ. 2516 โรงพยาบาลค่ายสุรนารี ได้รับพระราชทานชื่อเป็น โรงพยาบาลค่ายสุรนารี[1]

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช