ประวัติ ของ โรงพยาบาลตากสิน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดการระบาดของกาฬโรค พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงพยาบาลสำหรับรักษาพยาบาลผู้ป่วยกาฬโรคที่ตำบลคลองสาน บนที่ดิน 7 ไร่ 74 ตารางวา เมื่อวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2447 เรียกว่าโรงพยาบาลกาฬโรค[1] สมัยต่อมาได้รับการรักษาผู้ป่วยโรคระบาด ได้แก่ อหิวาตกโรคและไข้ทรพิษ แรกสังกัดกรมนคราธรหรือกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล ต่อมารัฐบาลได้จัดให้มีการปกครองในระบบเทศบาล

จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ได้โอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ ใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลเทศบาลและได้ปรับปรุงโรงพยาบาลโรคติดต่อนี้ขึ้นเป็นสถานพยาบาลพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลกลาง และวชิรพยาบาลก่อน คนทั่วไปเรียกขานว่า “โรงพยาบาลพักฟื้น” ต่อมาปี พ.ศ. 2515 ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเทศบาลนครหลวงขึ้น โดยรวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีเข้าด้วยกันโรงพยาบาลตากสินพัก ฟื้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลเทศบาลนครหลวง” สำหรับรักษาโรคทั่วไป และมีการปรับปรุงเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ชื่อของโรงพยาบาลจึงเปลี่ยนเป็น “โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร” และได้เปลี่ยนชื่อมาใช้ชื่อ “โรงพยาบาลตากสิน” ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2516 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผู้ทรงสถาปนากรุงธนบุรี[2] โดยถือวันที่ 27 กรกฎาคมของทุกปีเป็น วันคล้ายวันสถาปนาโรงพยาบาลตากสิน[3] ปัจจุบันโรงพยาบาลมีขนาดของโรงพยาบาล 473 เตียง (ข้อมูล 31 มกราคม พ.ศ. 2560)[4]

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำโรงพยาบาลตากสิน

  • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • พระพุทธพากูลรังสฤษดิ์
  • ศาลพระบรมคุรุแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์
  • ศาลพระภูมิเจ้าที่ประจำโรงพยาบาลตากสิน


ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลสกลนคร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา