ประวัติ ของ โรงพยาบาลศิริราช_ปิยมหาราชการุณย์

การก่อตั้ง

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 มติที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14/2546 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 และมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 ให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้สิทธิเหนือพื้นดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่เชื่อมคลองบางกอกน้อย รวมเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา หรือ 53,976 ตารางเมตร[1]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) เขตบางกอกน้อย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 และพระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ [2]

ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital) ชื่อย่อ “SiPH”[3] และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสถาบันการแพทย์ และลานพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่เนื่องจากมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 59 ทำให้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยในปัจจุบัน ที่สามารถรับภาระค่าบริการทางการแพทย์ได้ด้วยตนเองในระดับหนึ่งโดยที่ไม่ต้องพึ่งสวัสดิการจากภาครัฐ โดยเน้นการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ SiPH ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วเช่นเดียวกับบริการของโรงพยาบาลเอกชน มีการดูแลใกล้ชิดในบรรยากาศอบอุ่นเหมือนครอบครัวเดียวกัน และมั่นใจในความเป็นเลิศทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาลศิริราช และเพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับบุคลากร เพื่อรักษาบุคลากรไว้ในระบบ (ไม่ให้ออกไปประจำโรงพยาบาลเอกชนอย่างเต็มตัว)

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงพยาบาลศิริราช_ปิยมหาราชการุณย์ http://www.siph.ecgates.com/aboutus.php http://maps.google.com/maps?ll=13.760250,100.48580... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7602... http://www.siphhospital.com http://www.siphhospital.com/th/about-us/history.ph... http://www.siphhospital.com/th/medical-services/tr... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=13.760250&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.760250,100.485... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%...