ประวัติ ของ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2520 โดยห้างหุ้นส่วนจำกัดสุธนก่อสร้างและการค้า เป็นผู้รับเหมาดำเนินการในการก่อสร้าง ในวงเงินงบประมาณ 8,680,000.- บาท (แปดล้านหกแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) การก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2521 เริ่มเปิดบริการแก่ประชาชนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 จนกระทั่งถึง วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2522 ก็ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง อย่างเป็นทางการ

ก่อนที่โรงพยาบาลจะเปิดทำการในสถานที่ใหม่ที่ ตำบลไสหร้า (ที่ตั้งของโรงพยาบาลในปัจจุบัน) เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ปฏิบัติงานที่ศูนย์การแพทย์ อำเภอฉวาง ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง ในปัจจุบัน ในครั้งนั้นมีนายแพทย์จรูญ เค้าไพบูลย์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ ได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง ที่ตั้งอยู่ ณ ตำบลไสหร้า และนายแพทย์จรูญ เค้าไพบูลย์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี พ.ศ. 2522 จากการให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ปริมาณของผู้รับบริการได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 ได้รับการยกฐานะจากโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ขึ้นเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง จนถึงปี พ.ศ. 2541 จึงได้ยกฐานะขึ้นอีกครั้ง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ถึงปัจจุบัน

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช