โรงพยาบาลสุรินทร์ ของ โรงพยาบาลสุรินทร์

ประวัติและความเป็นมา

ความเป็นมาของโรงพยาบาลสุริทร์(กุศลสาธารณะ)ได้เริ่มก่อสร้างเริ่มแรกด้วยเงินทุนกุศลสาธารณะ โดย"ท่านเจ้าคุณ คุณรสศีลขันธ์คณานันทธรรมมา (เปาว์ กฤชทอง)" เจ้าอาวาสวัดจุมพลสุทธาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายมหานิกายในครั้งนั้นได้ออกเทศน์สามัคคีทุกตำบลในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อรวบรวมกัณฑ์เทศน์เป็นทุนในการเริ่มการก่อสร้าง พร้อมกันนี้ชาวจังหวัดสุรินทร์ได้ร่วมกันบริจากทรัพย์จนพอที่จะดพเดินการก่อสร้างโรงพยาบาลได้ นับเป็นสถานพยาบาลรักษาผู้เจ็บป่วยของทางราชการแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาทั้งด้านอาคาร สถานที่ บุคลากร และระบบงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื้อง

การกำเนิดโรงพยาบาลจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทีระบบสนับสนุนการรักษาอย่างครบวงจร นับเป็นความก้าวหน้าสำคัญของโรงพยาบาลสุรินทร์ ในการก้าวสู่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ที่ให้การรักษาพยาบาลอย่างมีคุณภาพแก่ประชาชน ทุกก้าวอย่างของการพัฒนาเป็นการสร้งพื้นฐานที่แข็งแรงให้แก่โรงพยาบาลสุรินท์ ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน[2]

โรงพยาบาลสุรินทร์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุรินทร์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีเนื้อที่ 59 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา ได้ดำเนินการมาจากการจัดทุน “กุศลสาธารณสุข” ซึ่งพระเดชพระคุณ พระคุณรสศีลขันธ์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ และประชาชนจังหวัดสุรินทร์ร่วมกันบริจาคเพื่อก่อตั้ง และเปิดโรงพยาบาลดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2494 โดยมีนายแพทย์สราญ นุกูลการ เป็นผู้อำนวยการคนแรก มีแพทย์ประจำ 2 คน เป็นสถานที่ปฏิบัติงานให้บริการผู้ป่วยแห่งแรกของทางราชการ มีอาคารเรือนไม้ 2 หลัง จำนวน 50 เตียง ซึ่งนับได้ว่าเป็นสถานพยาบาลที่ทันสมัยแห่งแรกของจังหวัด และได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 56 ปี ได้รับการพัฒนาเรื่อยมา จนได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช