ประวัติ ของ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนทรายทอง 5 ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2506 รวมเนื้อที่จำนวน 50 ไร่ (เป็นที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย) และได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกหลังแรก วงเงิน 490,000 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการแก่ประชาชนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2506 ต่อมามีการก่อสร้างหอผู้ป่วยสามัญ เรือนไม้ จำนวน 30 เตียง

  • ปี2507 ได้รับเงินบริจาคจากสมาคมฮกเกี้ยนและประชาชนในอำเภอสุไหงโก-ลก ก่อสร้างหอผู้ป่วยพิเศษเพิ่มเติมจำนวน 8 ห้อง
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2508 ได้ทำพิธีเปิดโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกอย่างเป็นทางการ
  • ปี 2513 ได้รับงบประมาณก่อสร้างตึกเอ็กซเรย์จำนวน 1 หลัง
  • ปี 2519 ได้รับงบประมาณก่อสร้างตึกพิเศษจำนวน 16 ห้อง
  • ปี 2521 ได้รับงบประมาณก่อสร้างตึกอายุรกรรม-ศัลยกรรมชาย
  • ปี 2524 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงครัว โรงอาหาร
  • ปี 2525 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารซักฟอก
  • ปี 2526 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก
  • ปี 2527 ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอผู้ป่วยหญิงและกุมารเวชกรรม
  • ปี 2535 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเอ็กซเรย์,ห้องผ่าตัดและห้องคลอด
  • ปี 2537 - 2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน และหอผู้ป่วยหนัก
  • ปี 2538 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารศูนย์จ่ายกลาง
  • ปี 2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเภสัชกรรม อาคารพยาธิวิทยา
  • ปี 2541 - 2544 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 9 ชั้น (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 51 พรรษา)
  • ในปี 2541 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เริ่มกิจกรรมคุณภาพขั้นพื้นฐาน คือกิจกรรม 5 ส. ซึ่งมุ่งเน้นการปรับปรุงสภาพแวดล้อม สถานที่ทำงานและการทำงานเป็นทีม ผลจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกฝ่าย ทำให้โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้รางวัล สถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน ระดับเหรียญทองจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และได้รับรางวัลมาตลอดทุกปี จนถึงปัจจุบัน
  • ในปี 2542 - 2543 โรงพยาบาลได้นำระบบประกันคุณภาพ (Quality Assurance) การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management) และระบบ ISO 9002 มาปรับใช้ในกระบวนการทำงานของโรงพยาบาล รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมข้อเสนอแนะเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้รับบริการจะได้รับการบริการที่มีคุณภาพจากโรงพยาบาล
  • ปลายปี 2544 เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายมีความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์กรไปสู่โรงพยาบาลคุณภาพ จึงได้นำหลักการและปรัชญาของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งได้แก่ มีการทำงานเป็นทีมโดยทุกสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการเป็นสิ่งสำคัญ ( Customer Focus ) จัดให้มีระบบบริหารความเสี่ยงเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ จะได้รับการดูแลและปฏิบัติงานภายใต้ระบบและสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยที่ควรจะได้รับและผลจากการร่วมแรงร่วมใจของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ทุกระดับ ทำให้โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.)
  • เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2547 นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในจังหวัดนราธิวาสและเป็นลำดับที่ 4 ในภาคใต้ที่ได้รับการรับรอง
  • ในปี 2548 - 2549 ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โรงพยาบาลมีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารเจ้าหน้าที่หลายท่านมีการโยกย้าย โรงพยาบาลสุไหงโกลกยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ โดยเน้นการบริหารความเสี่ยงการจัดการความรู้ การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรและได้มีการนำแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพทั้งผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ ชุมชน มาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและเชื่อมโยงไปกับการพัฒนาคุณภาพตามแนวทาง HA ที่มีมาแต่เดิม จนในที่สุดโรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้ผ่านการรับรอง Reaccreditation HA และผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH)
  • ในปี 2550 นับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในจังหวัดนราธิวาสและใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านการรับรอง HA และHPH จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล


จากการที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายปรับปรุงสถานบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นที่พึงพอใจของประชาชนอย่างยั่งยืน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกจึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่องค์กรคุณภาพดังกล่าว

1.วิสัยทัศน์ โรงพยาบาลชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

2.พันธกิจ ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนแบบองค์รวม อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีคุณธรรม

3.เป้าหมาย (goal) ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบมีส่วนร่วมและมีศักยภาพในการสร้างเสริม สุขภาพในชุมชนของตนเองและมีสุขภาพแข็งแรงประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว ได้มาตรฐาน เสมอภาคเกิดความพึงพอใจยุทธศาสตร์การพัฒนา
1. พัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพ และควบคุมป้องกันโรคโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมาตรฐาน HPH, HCA
2. พัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน HA
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรให้เป็นองค์กรเรียนรู้คู่คุณธรรม

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช