ประวัติ ของ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

ในปี 2510 คณะผู้บริหารเทศบาลกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาที่จะขยายการให้บริการทางด้านสาธารณสุขให้มากขึ้น เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครได้มีจำนวนมากขึ้น และในขณะนั้นมีโรงพยาบาลในสังกัดเพียง 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลกลาง และวชิรพยาบาลซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองจึงได้มีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลในเขต รอบนอกเพิ่มขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในเขตชานเมือง ปี 2511-2513 สร้างอาคาร 4 ชั้น เป็นตึกรับผู้ป่วย 1 หลัง งบประมาณจำนวน 5,101,000 บาท และตึก 1 ชั้น อีก 1 หลัง เพื่อเป็นตึกซักฟอกและโรงครัว บนพื้นที่ของ โรงฆ่าสัตว์เทศบาลนครกรุงเทพเดิม ซึ่งเลิกกิจการไปใน ซอยเจริญกรุง 111 เขตยานนาวา เพื่อเป็นโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางสูติกรรมเท่านั้น เนื่องจากประชากรในเขตยานนาวามีอัตราการเกิดที่สูงกว่าในเขตอื่น ๆ ให้ชื่อว่า “โรงพยาบาลคลอดบุตรบางคอแหลม”

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 โรงพยาบาลเริ่มเปิดดำเนินการตรวจรักษาในทุกสาขาโรค โดยโรงพยาบาล ได้ปรับปรุงสถานที่และเปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลใหม่ว่า “โรงพยาบาลบางคอแหลม” โดย นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดเดือนพฤษภาคม 2515 เปิดรับบริการผู้ป่วยในเป็นครั้งแรก คือ ผู้ป่วยทางสูติ-นรีเวชกรรม เดือนธันวาคม 2515 ได้โอนศูนย์บริการสาธารณสุข 18 ของสำนักอนามัยซึ่งตั้งอยู่ปากทางเข้าให้กับโรงพยาบาล เพื่อดัดแปลงเป็นตึกผู้ป่วยนอก เดือนเมษายน 2517 รับผู้ป่วยทางศัลยกรรมชาย และอายุรกรรมชาย ปี 2518 สร้างตึกพักพยาบาลต่อเติมจากตึกผู้ป่วยหลังเดิมเป็นเงิน 2,105,000 บาท ด้วยความเจริญรุดหน้าของโรงพยาบาลฯ กรุงเทพมหานคร จึงพิจารณาเปลี่ยนชื่อใหม่ และได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ขอพระราชทานชื่อโรงพยาบาลเพื่อความเป็นสิริมงคล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์” โดยมีพิธีเปิดป้าย ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2519 ปี 2519 สร้างตึกพัก ผู้ป่วย 4 ชั้น เป็นเงิน 6,945,389 บาท และรับ ผู้ป่วยทางศัลยกรรมหญิงและอายุรกรรมหญิง ในเดือนสิงหาคม 2519 เดือนมีนาคม 2520 รับผู้ป่วยทางกุมารเวชกรรม ปี 2525-2526 สร้างตึกซักฟอก ครัว พัสดุ และตึกพักพยาบาลเป็นเงิน 18,250,000 บาท ปี 2529 รับโอนที่ทำการเขตยานนาวา ดัดแปลงเป็น ตึกผู้ป่วยนอก ส่วนตึกผู้ป่วยนอกเดิมก็ได้ปรับปรุงเป็นตึก อุบัติเหตุ ศัลยกรรมกระดูก และทันตกรรม

เมื่อโรงพยาบาลดำเนินการให้บริการมาถึง 20 ปี จึงได้มีโครงการสร้าง “อาคารอนุสรณ์ 20 ปี” เพื่อขยายการให้บริการด้านรังสีวิทยา พยาธิวิทยา ชันสูตรโรคกลาง หออภิบาลผู้ป่วยหนัก ห้องผ่าตัด และหอผู้ป่วย วงเงิน 80,507,259 บาท ปี 2536 จัดซื้อที่ดินด้านหลังโรงพยาบาลอีก 7 ไร่ 265 ตารางวา วงเงิน 123 ล้านบาท ต่อมาในปี 2543 ด้วยความเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยี และต้องการภาพลักษณ์ที่ทันสมัยทำให้มีโครงการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 24 ชั้น เมื่อแล้วเสร็จ ส่งมอบอาคาร เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 โดยได้รับ พระราชทานชื่ออาคารว่า “อาคาร ๗๒ พรรษา มหาราชินี” เมื่อหน่วยงานต่างๆ รวมถึงหอผู้ป่วยได้ย้ายเข้าดำเนินการในอาคารฯ ทำให้โรงพยาบาลสามารถขยายการให้บริการมากขึ้น[2]

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช