ประวัติ ของ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ปี พ.ศ. 2469 ท่านเจ้าพระยายมราช ได้บริจาคเงินจำนวนเงิน 40,000 บาท สร้างอาคารเจ้าพระยายมราชบริเวณใกล้เทศบาลเมืองสุพรรณบุรีในปัจจุบัน โดยหันไปทางแม่น้ำท่าจีน โดยด้านหลังเป็นถนนจึงรับบริการได้เป็นอย่างดีทางน้ำและทางบก

ปี พ.ศ. 2478 มีนายแพทย์ท่านแรกประจำคือ นายแพทย์เคียน พานิช

ปี พ.ศ. 2485 กระทรวงสาธารณสุขยกระดับโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชเป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีการขยายหอผู้ป่วยอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม

ปี พ.ศ. 2500 แม่น้ำท่าจีนตื้น โดยเปลี่ยนด้านหน้าโรงพยาบาลเป็นด้านถนนแทน บุตรหลานท่านเจ้าพระยายมราชได้สร้างอนุสาวรีย์ท่านเจ้าพระยายมราชโดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ โดยมีอดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นวันโรงพยาบาล

ปี พ.ศ. 2534 โรงพยาบาลมีพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายพื้นได้อีก ทางราชการมอบเงินสร้างอาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 7 ชั้นจำนวนเงิน 144.34 ล้านบาท

ปี พ.ศ. 2537 อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 7 ชั้นเสร็จสิ้น โดยมีห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ห้องผ่าตัดและหอผู้ป่วย

ปี พ.ศ. 2542 การสร้างอาคารพิเศษ 5 ชั้นเสร็จสิ้น โดยกำลังสร้างอาคารอำนวยการแห่งใหม่สูง 11 ชั้น และ อาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นโดยงบประมาณจากฯพณฯท่าน บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมตรีคนที่ 21 รวมทั้งการสร้างอาคารบรรหาร แจ่มใสที่ 1-3 เสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2544 อาคารอำนวยการ 11 ชั้นและอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นเสร็จสิ้น โดยวันที่ 4 กรกฎาคมในปีเดียวกันได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 503 เตียง

ปี พ.ศ. 2545 ได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 623 เตียง สร้างสำนักงานปฏิบัติการที่ชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุ

ปี พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กเตาะแตะและผู้สูงอายุ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี พ.ศ. 2548 ได้เปิดศูนย์พื่งได้ ช่วยเหลือผู้มีความทุกข์จากเหตุการณ์ต่างๆ

ปี พ.ศ. 2550 ปรับปรุงอาคารพิเศษบรรหาร แจ่มใสที่ 2 ให้ทันสมัย โดยชั้น 1 เป็นศูนย์กักกันผู้ติดเชื้ออันตราย เปิดศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุประจำภาคตะวันตก มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ชั้น 1 อาคารอำนวยการเดิม

ปี พ.ศ. 2551 เปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย บริเวณชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุ รวมทั้งย้ายศูนย์บริจาคโลหิตไปอยู่ชั้น 4 สร้างห้องส่องกล้องระบบทางเดินหายใจที่ชั้น 3 เริ่มสร้างศูนย์เอกซเรย์คอมพืวเตอร์แห่งใหม่ที่อาคารอำนวยการเดิมชั้น 1 ปรับปรุงการให้บริการทางการแพทย์โดยระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย

ปี พ.ศ. 2552 ได้รับมาตรฐานการบริการ HA

ปี พ.ศ. 2553 การสร้างศูนย์บริจาคโลหิตไปอยู่ชั้น 4 สร้างห้องส่องกล้องระบบทางเดินหายใจที่ชั้น 3 ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แห่งใหม่ที่อาคารอำนวยการเดิมเสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2559 การก่อสร้างอาคารสนับสนุนบริการเสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2562 เปิดอาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์โรคหัวใจ เริ่มการผ่าตัดหัวใจเป็นครั้งแรก

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช