โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่บนถนนสถานพยาบาล (ถนนนี้ตั้งชื่อตามโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์) เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 758 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีพื้นที่ทั้งหมดรวมกว่า 52 ไร่ ประชาชนในท้องที่มักเรียกว่า "โฮงยาไทย" หมายถึง "โรงพยาบาลของไทย" (สาเหตุที่เรียก "โฮงยาไทย" เพราะจังหวัดเชียงรายมีโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง คือ โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค ที่มักเรียกกันว่า "โฮงยาฝรั่ง") และมีคำว่าประชานุเคราะห์ต่อท้ายเนื่องจากได้รับการสนับสนุนในการจัดสร้างจากประชาชนซึ่งในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีนโยบายสร้างโรงพยาบาลในหัวเมือง โดยประกาศใช้ พรบ.สาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2477 เพื่อแสดงเกียรติภูมิของชาติให้ปรากฏแก่ประเทศเพื่อบ้านที่เป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตกตามนโยบาย "อวดธง" ในปี พ.ศ. 2479 พระพนมนครารักษ์ (ฮกไก่ พิศาลบุตร) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย มีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงราย ซึ่งประชาชนในจังหวัดเชียงราย นำโดยคหบดีกลุ่มหนึ่งได้บริจาคที่ดิน จำนวน 19 ไร่ และดำเนินการขออนุมัติจากกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับเงินสนับสนุนจากประชาชนในจังหวัดเชียงรายโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ประกอบพิธีเปิดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 โดยมีแพทย์คนแรกและผู้อำนวยการคนแรกคือ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ในช่วงแรกโรงพยาบาลได้รับการอนุมัติให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 50 เตียง และได้เพิ่มจำนวนเตียงตามลำดับ ปี พ.ศ. 2531 ได้รับการอนุมัติเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ขนาด 600 เตียง และในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเตียงทั้งหมด 758 เตียง มีแพทย์ จำนวน 228 คนมีพยาบาล จำนวน 986 คน รวมบุคลากรทั้งหมด 1,730 คน[2]

โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

เว็บไซต์ www.crhospital.homeip.net
ประเภท รัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
จำนวนเตียง 758 เตียง[1]
สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
ที่ตั้ง เลขที่ 1039 ถนนสถานพยาบาล ตำบลรอบเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
แพทย์ 221 คน
ก่อตั้ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480
ผู้อำ-นวยการ นายแพทย์ไชยเวช ธนไพศาล
บุคลากร 1,730 คน

ใกล้เคียง

โรงพยาบาลในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลหั่วเฉินชาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช