นักเรียนนายร้อยตำรวจ ของ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำขวัญประจำชั้นปี

เมื่อ พล.ต.อ.เผ่า  ศรียานนท์  ได้ก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ อ.สามพราน  จว.นครปฐม  ได้ให้ พ.ต.อ.วิจิตร  สุกโชติรัตน์ ทำหน้าที่เป็นอนุศาสนาจารย์ และสอนวิชาจริยธรรมแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ  (พ.ต.อ.วิจิตร สุกโชติรัตน์  นั้นขณะครองสมณเพศ มีสมณศักดิ์ทางสงฆ์เป็นพระมหา)

ขณะก่อสร้างอาคารต่างๆภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ต.อ.วิจิตรฯ ได้ขอคำแนะนำจากพระเถระผู้ใหญ่ขอตั้งคำขวัญประจำชั้นปีของนักเรียนนายร้อยตำรวจ  เพื่อเป็นกุศโลบายและแนวทางในการอบรมปลูกฝัง นรต. ซึ่งเมื่อก่อสร้างอาคารต่างๆเสร็จใน พ.ศ. 2497 (นรต.รุ่นที่ 9,10,11) ก็ได้ตั้งคำขวัญประจำชั้นปีของนักเรียนนายร้อยตำรวจติดไว้ประจำอาคารนอนของ นรต.ทั้ง 4 อาคาร ดังนี้

นรต.ชั้นปีที่ 1 คำขวัญคือ “ขันตีอุตสาหะ” หมายความว่า ให้ นรต.ชั้นปีที่ 1  ต้องมีขันติ คือความอดทน และอุตสาหะ คือพากเพียรรับการฝึกหนัก ต้องมุมานะอดทนในการเปลี่ยนชีวิตจากคนธรรมดาให้เป็นผู้ที่รับการฝึกนรต.ชั้นปีที่ 2 คำขวัญคือ “วิจัยกรณี” หมายความว่า จะต้องแยกแยะวิจัยกรณีต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่ความก้าวหน้าในขั้นต่อๆไปนรต.ชั้นปีที่ 3 คำขวัญคือ “รักษ์วินัย” หมายความว่า จะต้องรักษาระเบียบวินัยและขนบธรรมเนียมอันดีงามต่างๆนรต.ชั้นปีที่ 4 คำขวัญคือ “เกียรติศักดิ์” หมายความว่า จะต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี รักษาเกียรติของตำรวจและสถาบันให้ดีที่สุด

คำขวัญของนักเรียนนายร้อยตำรวจนั้น เป็นกุศโลบายที่จะฝึกให้ นรต.มีคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่จะเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร และกำลังจะสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจะฝึกให้ นรต.รู้จักความเป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา"ที่ดีในชั้นปีที่ 1-2 และเป็น "ผู้บังคับบัญชา" ที่ดีในชั้นปีที่ 3-4 คำขวัญดังกล่าวมักจะถูกเรียกให้คล้องจองคือ "เกียรติศักดิ์ รักษ์วินัย วิจัยกรณี ขันตีอุตสาหะ"

สีประจำชั้นปี

  • ชั้นปีที่ 1 "สีฟ้า" หมายความว่า  ให้เป็นคนที่เปิดกว้างเหมือนท้องฟ้า  เพื่อรับการฝึก การอบรมต่างๆ   ต้องเป็นคนเปิดกว้างทั้งจิตใจและสติปัญญา
  • ชั้นปีที่ 2 "สีเหลือง" เป็นสีของการศึกษา  หมายความว่า ให้มีความตั้งใจศึกษาทุกๆด้านที่ รร.นรต. ให้การฝึกศึกษาแก่ นรต.
  • ชั้นปีที่ 3 "สีม่วง" เป็นสีที่เกิดจากการผสมระหว่างสีแดงเลือดหมูกับสีดำ อันเป็นสีของตำรวจ  หมายความว่า จะต้องมีความพร้อมที่จะเป็นตำรวจอย่างเต็มตัว
  • ชั้นปีที่ 4 "สีเขียว" เป็นสีที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์เต็มที่  ถ้าเป็นต้นไม้ก็คือต้นไม้ใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขา  เป็นที่พึ่ง ให้ร่มเงาแก่สรรพสัตว์และมนุษย์ได้

สีประจำชั้นปีนี้จะถูกใช้เป็นสีประจำกองร้อย (อาคารนอน) และเป็นสีหมวก ซึ่งการเลื่อนชั้นการศึกษาของ นรต.นั้นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มี พิธีประดับเลขชั้นปีและเปลี่ยนหมวกสี แล้ว ซึ่งจะกระทำในวันรุ่งขึ้นหลังจากมี พิธีวิ่งรับหมวก (Long March) ในวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา

เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยตำรวจ

เครื่องแบบและชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

เครื่องแบบ และชุดแต่งกายของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีทั้งสิ้นจำนวน 14 แบบ ได้แก่

  • เครื่องแบบเต็มยศ
  • เครื่องแบบครึ่งยศ
  • เครื่องแบบสโมสร
  • เครื่องแบบปกติขาว
  • เครื่องแบบปกติเสื้อนอกคอแบะกากี
  • เครื่องแบบปกติเสื้อเชิ้ตคอพับกากี (มีผ้าผูกคอ)
  • เครื่องแบบฝึก
  • เครื่องแบบสนาม (ฟาติก)
  • เครื่องแบบสนามชนิดปล่อยเอว (เวสมอร์แลนด์)
  • ชุดศึกษา
  • ชุดลำลอง
  • ชุดกีฬาขาสั้น
  • ชุดกีฬาขายาว
  • ชุดวอร์ม

หมวก มีทั้งสิ้น 7 แบบ

  • หมวกปีกทรงแข็งสีกากี มียอดโลหะสีเงิน (หมวกยอด) หุ้มด้วยผ้าเสิร์จ
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี ผ้าเสิร์จ
  • หมวกทรงหม้อตาลสีขาว
  • หมวกทรงหม้อตาลสีกากี
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี ผ้าเสิร์จ (นรต.หญิง)
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีกากี (นรต.หญิง)
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนพับปีกสีขาว (นรต.หญิง)
  • หมวกหนีบสีกากี
  • หมวกแก๊ปทรงตึง (สีประจำกองร้อย)
  • หมวกแก๊ปทรงอ่อนสีดำ
  • หมวกทรงอ่อนสักหลาดสีดำ (เบเร่ต์)

รองเท้า มีทั้งสิ้น 4 แบบ

  • รองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำ (ฮาล์ฟ)
  • รองเท้าหุ้มส้นหนังสีดำ (คัทชู)
  • รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ (คอมแบท)
  • รองเท้ากีฬาผ้าใบหุ้มส้นสีขาว

ส่วนประกอบเครื่องแบบ

  • หน้าหมวกตราแผ่นดิน เป็นตราแผ่นดินรูปอาร์มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจูลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • อาร์มคอรูปตราสัญลักษณ์โรงเรียนนายร้อยตำรวจสีเงิน
  • อินทธนูแข็งสีแดงเลือดหมูประดับสายพาดดิ้นเงิน
  • เครื่องหมาย "ร"
  • เครื่องหมายเลขไทยตามชั้นปี
  • ป้ายชื่อโลหะ
  • แพรแถบย่อข้าราชการตำรวจ
  • กระบี่สั้นนักเรียนนายร้อยตำรวจพร้อมสายกระบี่
  • กระบี่ยาว พร้อมสายกระบี่ชนิดสามชาย (ใช้ในการฝึกและการสวนสนาม)

เครื่องหมายการผ่านการฝึก และความสามารถพิเศษประกอบเครื่องแบบ

  • เครื่องหมายหลักสูตรต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.)
  • เครื่องหมายหลักสูตรการโดดร่ม จากกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตชด. (ค่ายนเรศวร) ปีกร่มชนิดทำด้วยดิ้นเงิน
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนพกในระบบ เอ็น.อาร์.เอ (N.R.A.)
  • เครื่องหมายความสามารถการยิงปืนยาว

หลักสูตรต่าง ๆ ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ

นอกจากนักเรียนนายร้อยตำรวจจะต้องศึกษาภาควิชาการ และการอบรมหล่อหลอมด้านความคิดจิตวิญญาณแล้ว นรต.ทั้งหมดจะต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • หลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ (ตปส.) สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 1 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกรับใช้ประชาชนในชนบท สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "หลักสูตรพ่อแม่สมมติ" ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรการโดดร่ม สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 2 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน โดยอยู่ในการควบคุมการฝึกโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร) หลักสูตรนี้ไม่เป็นหลักสูตรบังคับ หากไม่เข้ารับการฝึก จะต้องฝึกหลักสูตรอื่น ๆ ทดแทน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสัมผัสปัญหาชุมชน สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนกันยายน
  • หลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจฝึกปฏิบัติงานในสถานีตำรวจ สำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 3 โดยให้ฝึกงานสายป้องกันปราบปราม, สืบสวน, จราจร, อำนวยการ ฝึกในช่วงปิดภาคการศึกษาภาคปลาย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม โดยส่งตัวให้ไปฝึกในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรต่าง ๆ
  • หลักสูตรฝึกหัดงานสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ฝึกหลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาภาคต้น ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยส่งตัวให้ฝึกในสถานีตำรวจนครบาลต่าง ๆ
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพสืบสวนสอบสวน สำหรับ นรต.ชั้นปีที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงประดับยศเป็นว่าที่ ร.ต.ต.โดยส่งตัว นรต.ชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษาแล้วให้รับการฝึก ณ สถาบันส่งสริมงานสอบสวน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กรกฎาคม ใช้ระยะเวลาฝึกเป็นเวลา 8 เดือน ก่อนจะแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

นักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 (ตรงกับนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 66) เป็นต้นมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้เปิดรับสมัครนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงเป็นรุ่นแรก จำนวน 70 นาย โดยคัดเลือกจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 นาย และข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพศหญิงอายุไม่เกิน 25 ปี อีก 10 นาย ผลปรากฏว่ามีผู้สมัครสอบคัดเลือกถึงกว่า 17,000 คน และได้รับนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกปี จนถึงปี 2561 โดยในปัจจุบันได้มีการเลิกรับนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิงแล้ว

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย