ประวัติโรงเรียน ของ โรงเรียนพยุหะวิทยา_(วัดเขาแก้ว)

  โรงเรียนพยุหะวิทยา ( วัดเขาแก้ว ) ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[3] เดิมนายประเสริฐ เกษมรัติ เป็นเจ้าของได้ขออนุญาตตั้งขึ้นที่วัดอินทรารามเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมาได้มอบถวายกิจการของโรงเรียนแก่วัดเขาแก้ว ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2490 โดยใช้ชื่อโรงเรียนพยุหะวิทยาตามเดิม ใช้อาคารรัตนคีรีวิทยากร เป็นอาคารเรียนหลังแรก มีพระครูนิสิตคุนากร(หลวงพ่อกัน) เป็นเจ้าของ   พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปัญโญ) เป็นผู้จัดการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ภิกษุ สามเณรได้ศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนพระปริยัติธรรม และพัฒนากิจกรรมอันเป็นสาระในวัดเขาแก้วและท้องถิ่นควบคู่กันไปอย่างไม่ขาดสาย

ยุคที่ 1 ยุคพระธรรมไตรโลกาจารย์

ท่านเจ้าคุณธรรมไตรโลกาจารย์ ( ยอด อักกวังโส ป.ธ.6 ) เป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่ได้ริเริ่มก่อตั้งความเจริญรุ่งเรืองไพศาลแห่งการศึกษาและการคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์จนเจริญทั่วจังหวัด การศึกษาและการคณะสงฆ์ที่เจริญมาถึงทุกวันนี้เป็นผลงานตลอด 22 ปีของท่านเจ้าคุณ ต่อมาเห็นว่าภิกษุและสามเณรเรียนแต่ปริยัติธรรมอย่างเดียว ความรู้ไม่กว้างขวางพอ จึงรับโอนโรงเรียนพยุหะวิทยา มาจาก นายประเสริฐ เกษมรัติ ที่ตั้งอยู่ที่วัดอินทารามมาเป็นโรงเรียนของวัดเขาแก้ว เมื่อปลายปี พ.ศ. 2490 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ตามใบอนุญาต ที่ 10/2490 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ใช้ตึกรัตนคีรีวิทยากรเป็นที่เรียนแห่งแรก คณะกรรมการโรงเรียนสนับสนุนให้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมถึงชั้นมัธยมปลายได้รับอนุมัติ จากสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา ด้วยความเห็นชอบของคณะสังฆมนตรีตามหนังสือที่ 73/2491 ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยใช้ศาลา และกุฏิเป็นที่เรียน ระยะหลังนายเกษม บุญศรี ส.ส.นครสวรรค์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายเรื่องงบประมาณสร้างอาคารเรียนได้งบประมาณ 420,000 บาท และให้โรงเรียนการช่างนครสวรรค์สร้างอาคารเรียนสองชั้นหกห้องเรียนจนแล้วเสร็จปี พ.ศ. 2500 จึงย้ายตึกรัตนคีรีวิทยากรไปเรียนที่ใหม่ เป็นสถานที่เรียนในปัจจุบันนี้

ยุคหลังปี พ.ศ. 2541 อาจารย์สมบุญ  มากบุญ

มีพระครูนิทัศนพลธรรม (ต่อ มากบุญ) เป็นผู้รับใบอนุญาต ต่อจากพระครูนิสิตคุนากร(หลวงพ่อกัน) พระครูนิทัศ์ธรรมเวที (ปลด ศรีพงษ์สุทธิ์)  เป็นผู้จัดการ ต่อจากพระธรรมคุณาภรณ์(เช้า ฐิตปัญโญ) เมื่่อวันที่ 1 มิถุนายน 2541 นายสมบุญ มากบุญ เป็นผู้อำนวยการ ได้รับมอบหมายหน้าที่ จากผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน,ผู้จัดการ,และคณะกรรมการสถานศึกษา ให้พัฒนาโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านกีฬาและนันทนาการ รวมไปถึงดนตรี-นาฏศิลป์ ซึ่งท่านได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อกิจการงานนักเรียนเป็นอันมาก ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงที่โด่งดังเป็นอันดับต้นๆ ของอำเภอ และเป็นที่รู้จักกันไปทั่วทั้งจังหวัดนครสวรรค์ รวมไปถึงการแข่งขันในระดับประเทศ ท่านก็สามารถที่จะนำมานักเรียนของโรงเรียนไปพิชิตรางวัลได้อยู่เสมอๆ และทุกครั้งที่มีการมอบวุฒิบัตรในโรงเรียน ท่านจะมีคำคมคำหนึ่งที่ติดปากท่านมาตลอดว่า การเป็นแชมป์น่ะยาก แต่การรักษาแชมป์นั้นยากกว่าและวลีที่ทุกคนจดจำ นั่นคือ"สวัสดีคุณครูทุกท่าน และลูกๆ พ.ว.ที่รักทุกคน" ท่านมักจะตักเตือนนักเรียนด้วยความรักและเมตตา และเรียกนักเรียนทุกๆ คนว่าลูก ทำให้นักเรียนรักและเคารพท่านเป็นอันมาก โรงเรียนก็พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น

  • การสร้างสระว่ายน้ำแห่งแรกของตำบลพยุหะคีรี
  • การสร้างบ้านบอลเพื่อพัฒนาทักษะความคิดของนักเรียน
  • การสร้างศูนย์กีฬาและนันทนาการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เดอะ มอลด์ กรุ๊ป
  • การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกค์ที่มีการค้นคว้าข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ
  • การสร้างลานอเนกประสงค์ ศุภชัย อัมพุช เพื่อให้นักเรียนได้เข้าแถวปฏิบัตกิจกรรมในช่วงเช้าอย่างสบาย การก่อสร้างศาลาบนเขา เป็นที่ประดิษฐูนพระเพื่อให้นักเรียนกราบไหว้บูชา
  • การบูรณะหอประชุม ให้เป็นห้องติดแอร์ที่เหมาะแก่การประชุมทุกรูปแบบ
  • สร้างน้ำตกหน้าโรงเรียนเพื่อพัฒนาทัศนียภาพของโรงเรียน
  • การพัฒนาวงดุริยางค์ ให้กลายเป็นวงโยธวาทิต การพัฒนานาฏศิลป์ไทยของโรงเรียนให้เป็นการแสดงโขนระดับจังหวัด ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกหัดรำกลองยาวจนดังไกลไปทั้วประเทศ พัฒนาวงดนตรีไทยให้โด่งดังในกลุ่มโรงเรียนการกุศลขอวงวัดในพระพุทธศาสนา
  • ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทางด้านวิชาการ เพื่อแข่งขันระดับจังหวัดและระดับประเทศ รวมไปถึงการส่งนักเรียนลงแข่งขันงานศิลปะหัตถกรรม

ยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555-ปัจจุบัน)

ปัจจุบันมี ผู้รับใบอนุญาต,ผู้จัดการ,และคณะกรรมการสถานศึกษา ได้มอบหมายหน้าที่ นางสมพิศ ให้เข้ามาบริหารงานฝ่ายวิชาการ เป็นผู้อำนวยการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโรงเรียน เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่พัฒนาเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การก่อสร้างอาคารรับเลี้ยงเด็กก่อนวัย เพื่อเตรียมเข้าสู่ชั้นปฐมวัย ปรับปรุงทัศนียภาพภายในโรงเรียน ปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีการเพิ่มเติมสายงานของบุคลากร โดยท่านมีความประสงค์ให้ นักเรียนมีความรู้และพัฒนาคุณธรรม เพื่อให้นักเรียนก้าวไปเป็นเยาวชนที่ดีของชาติในอนาคต มีการเพิ่มรายวิชาการสอนเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมหลักสูตรอาเซียนศึกษา ปรับการเรียนให้ผู้เรียนมีการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับความรู้ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาในด้านของศักยภาพของนักเรียน ทางโรงเรียนได้เพิ่มการสนับสนุนนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดี ให้ได้รับการศึกษาที่ตรงความต้องการ มีการเพิ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาเพื่อใช้เป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน มีการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีการศึกษาและค้นคว้าหาความรู้ตลอดเวลา รวมไปถึงการปรับทางด้านระเบียบการศึกษา ผู้ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมจะได้รับการตักเตือนและติดทัณฑ์บน เพื่อไม่ให้นักเรียนได้ทำผิดซ้ำอีก มีมาตราการในการป้องกันนักเรียนจากอบายมุขต่างๆ มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดเพื่อป้องกันนักเรียนจากผู้ไม่หวังดีภายนอก มีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนในการร่วมกันดูแลโรงเรียน เพื่อปลูกฝังนิสัยความรักโรงเรียนแก่นักเรียน มีการเพิ่มเติมหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนพร้อมในการก้าวสู่อาเซียน สนับสนุนนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อฝึกฝน และพัฒนาทักษะของนักเรียน เพื่อเป็นเครื่องยืนยันต่อความสามารถที่นักเรียนมี โดยได้มีทุนการศึกษาจากบริษัท เดอะ มอลด์ กรุ๊ป ซึ่งมอบโดยครอบครัวคุณศุภชัย อัมพุช ครอบครัวอัครวงศ์ และบริษัท ไทยซัมซุง ประกันชีวิต จำกัด ซึ่งมอบทุนการศึกษาเพื่อให้เด็กนักเรียนที่ฐานะทางบ้านไม่สามารถที่จะหาค่าใช้จ่ายในการศึกษเล่าเรียนได้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสในการเรียนรู้

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเซนต์ดอมินิก โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม