ประวัติการก่อตั้งโรงเรียน ของ โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์

ปี พ.ศ.2527 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ได้รับมอบที่ดินจำนวน 18 ไร่ จากครอบครัวปัญจทรัพย์ เพื่อใช้ก่อสร้างวัดและโรงเรียน อาคารเรียนหลังแรกเริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 เป็นอาคารคอนกรีต 4 ชั้น ใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปีจึงแล้วเสร็จ พระคาร์ดินัล เป็นประธานในพิธีเสกอาคารเรียน เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2528 โดยโรงเรียนได้รับชื่ออันเป็นมงคลว่า “โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์” ซึ่งหมายถึง พระแม่ผู้ให้ความช่วยเหลือแก่เราทุกคนเสมอ [2]

นักเรียน 1,195 คน ครู 40 คน

ปีการศึกษา 2529

ปีการศึกษา 2528 - 2529

โรงเรียนเริ่มเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2528 โดยมีแมร์มีเรียม กิจเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต แมร์หลุยส์ กิจเจริญ เป็นอธิการิณีคนแรก ดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2528 - 2533 และเซอร์เทโอดอร์ ประราศรี เป็นครูใหญ่ รับนักเรียนรุ่นแรกชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 913 คน โดยมีครู 40 คน [2]

นักเรียน 1,798 คน ครู 56 คน

ปีการศึกษา 2532

ปีการศึกษา 2530 – 2532

เซอร์มารีโลด สกุลทอง รับตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ขยา ชั้นเรียนไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2532 ได้ต่อเติมอาคารเรียนหลังแรก (อาคารพระมารดานิจจานุเคราะห์) ให้เป็นอาคาร 5 ชั้น เพื่อใช้พื้นที่บนอาคารให้เป็นห้องหมวดวิชาต่างๆ และได้เริ่มก่อสร้างอาคารเซนต์ไมเกิ้ล (ตึกอนุบาล) [2]

นักเรียน 2,931 คน ครู 125 คน

ปีการศึกษา 2535

การศึกษา 2533 – 2535

เซอร์อัลแบรต์ ไวอาษา รับตำแหน่งผู้จัดการ-ครูใหญ่ และได้เริ่มใช้อาคารเซนต์ไมเกิ้ล เป็นสถานที่เรียนของนักเรียนระดับอนุบาล ปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้ขออนุญาต ขยายชั้นเรียนจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มการก่อสร้างหอประชุมหลุยส์ เดอ ลา ตรีนิเต มีการปรับปรุงสนามหน้าโรงเรียน และสร้างทางเดินโดยรอบสนาม [2]

นักเรียน 3,737 คน ครู 175 คน

ปีการศึกษา 2541

ปีการศึกษา 2536 – 2541

เซอร์สกอลัสติก สัณฐิติ รับตำแหน่งผู้จัดการ-ครูใหญ่ ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนให้เปลี่ยนแปลงเครื่องแบบนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ให้เหมือนกับนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดสอนหลักสูตร โครงการใช้สื่อการสอนภาษาอังกฤษ (English Program) และปรับปรุงห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษา จัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีบรรยากาศร่มรื่น สะอาด สวยงาม และเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดสร้าง สวนแม่พระ (Myriam Garden) ติดตั้งเครื่องขยายเสียงภายในห้องเรียน ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ภายในหอประชุม สร้างห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ห้องปฏิบัติการทางภาษา ศูนย์อินเตอร์เนตเพื่อการศึกษา บ้านมรดกไทย ห้องศาสนภัณฑ์ และมินิมาร์ท เพื่อให้บริการแก่นักเรียนและผู้ปกครอง สระว่ายน้ำปิติมหาการุญและอาคารครุเวศม์ จัดตั้งวงดุริยางค์ระดับอนุบาล จัดสร้างและดำเนินการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดขึ้นภายในห้องเรียน พัฒนาการบริหารงานของโรงเรียนโดยจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน รวมถึง ธรรมนูญโรงเรียน คู่มือนักเรียน-ผู้ปกครอง คู่มือครู และนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานของโรงเรียน [2]

นักเรียน 3,966 คน ครู 201 คน

ปีการศึกษา 2543

ปีการศึกษา 2542-2544

ซอร์แทแรส บุญรักษ์ หมั้นทรัพย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ-ครูใหญ่ ได้มีการพัฒนา ดังนี้ [2]

  • จัดสร้างสนามฟุตบอล สวนเอเดน ซึ่งเป็นสวนเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อใช้เป็นห้องเรียนธรรมชาติ
  • จัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์ใหม่ 2 ห้อง จัดสร้างห้องประชุม และห้องปฏิบัติการทางภาษา สำหรับนักเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ และจัดสร้างห้องสมุดสารบรรณความรู้สำหรับนักเรียน
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการอนุรักษ์พลังงาน เปิดใช้สระว่ายน้ำ "ปีติมหาการุญ" และหอพักครู "ครุเวศม์"
  • จัดทำระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • ปีการศึกษา 2542-2546 ได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฎิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน: การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการวิจัย เริ่มดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์
  • โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ห้องสมุดประถมศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ และได้รับการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001
#รับการคัดเลือกเป็นสถานที่ศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2545 - กระทรวงศึกษาธิการ
  1. รับป้ายพระราชทานการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 - โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  2. รางวัลระดับเหรียญเงิน ในการนำเสนอผลงานการสอนด้วยกระบวนการวิจัยโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม - คุรุสภา
  3. รางวัลโล่ทอง โครงการห้องสมุดดีเด่นด้านกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน - อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
การศึกษา 2545 - 2550

เซอร์อัลเฟรด วรศิลป์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ-ครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 3,730 คน ครู 235 คน เปิดสอนภาษาจีนเป็นวิชาภาษาต่างประเทศ และจัดทำหลักสูตรภาษาอังกฤษเข้มข้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดสร้างห้องเรียนชั่วคราวเพิ่มเติม เนื่องจากมีการขยายห้องเรียนระดับมัธยมศึกษา จัดสร้างห้อง ICT พร้อมปรับปรุงห้องคอมพิวเตอร์ทุกห้อง เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักสูตร UK English [3] จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง ริเริ่มจัดงานตลาดนัดความรู้สำหรับคณะครูขึ้นภายในโรงเรียน และได้รับเกียรติบัตรจากการประปานครหลวง ผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพน้ำประปาดื่ม

โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ เป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2545 โดยร่วมกับฝ่ายการศึกษามิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เริ่มใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 4 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 4 โรงเรียนได้รับการตรวจประเมินภายนอก และได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

#รางวัลระดับเหรียญทอง ในการนำเสนอผลงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ โครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม - คุรุสภา
  1. vรางวัลโล่ทอง โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ - สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. รางวัลโล่ทอง โครงการห้องสมุดดีเด่นด้านกิจกรรม ส่งเสริมการอ่าน - มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
ปีการศึกษา 2551 - 2553

โรงเรียนติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ภายในบริเวณโรงเรียนและปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยรอบติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกายบริเวณสวนสุขภาพจัดสร้างหลังคาคลุมสนามเด็กเล่นอนุบาล จัดสร้างอาคารพระมารดานิจจานุเคราะห์ 3 (ตึกมัธยม) ปรับปรุงสวนเอเดนให้เป็นค่ายลูกเสือ-เนตรนารี และสร้างบ้านพักแรม “มารีย์สมภพ” ปรับปรุงสนามกีฬาภายในบริเวณโรงเรียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะ (Health Literacy) ของเด็ก เยาวชน และครอบครัวด้วยพลังเครือข่ายการศึกษา ได้รับป้ายรับรองอาหารปลอดภัย (Food Safety) จากกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบการจัดฐานกิจกรรมองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ในงานชุมนุมลูกเสือคาทอลิกโลก ครั้งที่ 1 (ICCS Jamboree) [2]

# รับคัดเลือกเป็นศูนย์อบรมครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ - สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  1. รางวัล 84 โรงเรียนคุณธรรม - มูลนิธิดร.เทียม โชควัฒนา
  2. ด.ช.จิรายุส จินาพงศ์ โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ รับรางวัลเหรียญทองในประเภทบุคคล และรางวัลชมเชย 2 เหรียญในประเภททีม - การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา (กรกฎาคม 2556, ฮ่องกง) [4]
  3. ด.ช.สรรค์เปรม เตชะวิเชียร โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ รับเหรียญทอง - การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา (พฤศจิกายน 2556, ฟิลิปปินส์) [5]
ปีการศึกษา 2554 - 2562

เซอร์เวโรนิกา ประราศรี ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ-ครูใหญ่

  • โรงเรียนได้รับการตรวจประเมินภายนอกรอบ 3 ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
  • สร้างร้านอาหารมาร์ธา (Matha Shop) และปรับพื้นที่บริเวณหลังอาคารพระมารดานิจจานุเคราะห์ 1 ให้เป็นสนามเด็กเล่น และปรับปรุงศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์
  • จัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และศูนย์การเรียนรู้อาเซียนศึกษา

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเซนต์ดอมินิก โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ http://www.pramanda.ac.th http://www.pramanda.ac.th/ELPC/pages/about-us.html http://www.pramanda.ac.th/index/directorpage.html http://www.pramanda.ac.th/index/schoolhistory.html https://www.facebook.com/AlumniPramanda https://www.facebook.com/PramandaSchool https://www.youtube.com/channel/UCBR58R6AUp0tm7YaF... https://www.thairath.co.th/content/358369 https://www.thairath.co.th/content/386235