ประวัติ ของ โรงเรียนสุรวิทยาคาร

โรงเรียนสุรวิทยาคาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 เมื่อแรกตั้งได้อาศัยศาลาโรงธรรมของวัดจุมพลสุธาวาส เป็นสถานที่เล่าเรียนเฉพาะระดับประถมศึกษา แต่ไม่ทราบจำนวนครูและนักเรียน เนื่องจากไม่มีหลักฐานระบุไว้

  • พ.ศ. 2456 กระทรวงธรรมการได้แต่งตั้งนายอู๋ เกตุศิริ มาเป็นครูใหญ่และเป็นธรรมการจังหวัดสุรินทร์คนแรก
  • พ.ศ. 2458 ได้ย้ายโรงเรียนไปอาศัยเรียนที่ศาลาโรงธรรมวัดบูรพาราม
  • พ.ศ. 2460 ราชบุรุษยา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • พ.ศ. 2461 ราชบุรุษแห (ปป.) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ นอกจากเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาแล้ว ยังเปิดสอนในระดับฝึกหัดครูประกาศนียบัตรด้วย
  • พ.ศ. 2463 ราชบุรุษเยื้อน รัชตะกสิกร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ จำนวน 7 ชั้นเรียน
  • พ.ศ. 2464 นายเลื่อน สุวรรณาคร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ เปิดสอนตั้งชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีครู 8 คน นักเรียน 239 คน เริ่มเก็บเงินค่าเล่าเรียนในปีนี้และได้ย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกันที่อาคารสร้างใหม่ (บริเวณศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน)
  • พ.ศ. 2569 กระทรวงศึกษาธิการ (ธรรมการ) ได้ให้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน ในสมัยพระยาเสนานุชิตกับพระยาประทุมเทพภักดีเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด
  • พ.ศ. 2472 ว่าที่รองอำมาตย์ตรีปาน คงฤทธิ์ (ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • พ.ศ. 2475 นายมั่น เพ็ชรศรีสม (ปป.ก.) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปที่ 6
  • พ.ศ. 2478 ได้ย้ายนักเรียนสตรีไปเรียนที่โรงเรียนสตรี มีนักเรียนไปเรียน 150 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่มีครูใหญ่คนเดียว จนถึงปี พ.ศ. 2480 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งนายบุญหลาย ไชยกาล มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรี
  • พ.ศ. 2479 นายมั่น เพ็ชรศรีสม ถึงแก่แกรรม จังหวัดแต่งตั้งให้นายยรรยง จรัณยานนท์ มารักษาราชการ
  • พ.ศ. 2480 นายยรรยง จรัณยานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นครูใหญ่
  • พ.ศ. 2481 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารหลังใหม่ และสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2482
  • พ.ศ. 2484 ยายยรรยง จรัณยานนท์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งธรรมการจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดแต่งตั้งให้นายมูล (มงคลชัย) เหมริด เป็นครูใหญ่ และตัดชั้นประถมศึกษาออก คงเปิดสอนเฉพาะชั้นมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2490 นายโกสีย์ แก้วคูณ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2492 นายเกียรติ ศรีพงศ์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จากโรงเรียนประจำจังหวัดสุรินทร์ เป็น โรงเรียนสุรวิทยาคาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2494
  • พ.ศ. 2496 นายเกียรติ ศรีพงศ์ รับคัดเลือกไปศึกษาต่อ ราชการได้แต่งตั้งให้ นายพินิจ แอกทอง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
  • พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2503 จึงตัดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,ปีที่ 2 และปีที่ 3 ออกปีละชั้น เปลี่ยนชั้นเรียนเป็นมัธยมศึกษา (ม.ศ.) และได้เปิดสอนชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2511 นายพินิจ แอกทอง ย้ายไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนศีรษะเกศวิทยาลัย ทางราชการได้แต่งตั้งนายอุดร เวียงเพิ่ม มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.)
  • พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค (คมภ.2)
  • พ.ศ. 2529 นายอุดรเวียงเพิ่ม ผู้อำนายการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ ทางราชการได้แต่งตั้งนายอุดร มหาเมฆ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2532 นายอุดร มหาเมฆ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ทางราชการได้แต่งตั้งนายชูเกียรติ ลิขสิทธิ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2533 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2535 เปิดโรงเรียนสาขาที่ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมอบหมายให้นายเกษม ลาดสะอาด เป็นผู้ดูแล นายชูเกียรติ ลิขสิทธิ์เกษียณอายุราชการ นายประวัติ นวลศรี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2536 ก่อสร้างอาคารคอนกรีต 2 ชั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 84 ปี การก่อตั้งโรงเรียนสุรวิทยาคาร โดยชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสุรวิทยาคาร
  • พ.ศ. 2538 นายประวัติ นวลศรี ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ทางราชการแต่งตั้งให้นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2539 นายอุทัย นิวัฒนุวงศ์ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ทางราชการแต่งตั้งให้นายเชียร ศิลนะชัย ดำรงตำแหน่งแทน และในปีนี้โรงเรียนเปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นโรงเรียนสหศึกษา มีนักเรียนหญิงจำนวน 62 คน นายเชียร ศิลนะชัย ย้ายไปช่วยปฏิบัติราชการที่กรมสามัญศึกษา และทางราชการแต่งตั้งให้นายโอภาส วัยวัฒน์ ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคาร และแต่งตั้งให้นายเถลิงศักดิ์ ศรีดี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  • พ.ศ. 2541 ก่อสร้าง "อาคารสมบูรณ์-รศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์"
  • พ.ศ. 2543 นายเถลิงศักดิ์ ศรีดี ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีชัยภูมิ กรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้นางสาวนิทรา สมสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่งแทน
  • พ.ศ. 2545 สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์ คัดเลือกโรงเรียสุรวิทยาคารเป็นตัวแทนสหวิทยาเขตสุรินทร์ เพื่อนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
  • พ.ศ. 2546 วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นวันที่พระราชบัญญัติระเบียบบริการราชการกระทรวงศึกษาธิการมีผลบังคับใช้ โรงเรียนสุรวิทยาคารได้เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1
  • พ.ศ. 2547 เริ่มการก่อสร้างอาคาร "หอประชุมรวมน้ำใจสุรวิทยาคาร"
  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนเปิดสอนหลังสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์เข้ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2549 ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2550 นายสมหมาย เจริญรัตน์ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ ทางราชการแต่งตั้งให้นายเลิศชาย สุขประเสริฐ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคารแทน
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนสุรวิทยาคารครบ 100 ปีและเริ่มก่อสร้างอาคาร 6 อาคาร 6 ที่ว่าก็คืออาคารใหม่ 4 ชั้น สำหรับ นักเรียนในปีการศึกษา 2553 และ ในปีการศึกษา 2553 ที่จะถึงนี้ เป็นปีที่ครบรอบ 101 ปี มีการจัดการแข่งขันกีฬาสีสัมพันธ์ครั้งที่ 30 เป็นครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยใช้ชื่อว่า ศตวรรษมหามงคล ๑๐๑ ปี สุรวิทยาคารยิ่งใหญ่
  • พ.ศ. 2553 เข้าร่วม World Class Standard School
  • พ.ศ. 2559 นายเลิศชาย สุขประเสริฐ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ ทางราชการแต่งตั้งให้ ด.ร.แสน แหวนวงศ์ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคารแทน
  • พ.ศ. 2561 ด.ร.แสน แหวนวงศ์ ผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ ทางราชการแต่งตั้งให้นายอนุชา หลิมศิริวงษ์ เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรวิทยาคารแทน
  • พ.ศ. 2561 โรงเรียนสุรวิทยาคาร ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ขนาดใหญ่
  • นายศิวกานต์ ศรีมารักษ์ ได้รับรางวัลนักเรียนรางวัลพระราชทาน ประเภทมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2562 ก่อสร้าง "อาคาร อมเรศธำรงค์

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย