ประวัติ ของ โรงเรียนเทพลีลา

โรงเรียนเทพลีลาตั้งอยู่ ณ เลขที่ 281 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครเป็นโรงเรียนมัธยมประเภทสหศึกษาสังกัด กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่๑ มีการปรับแต่งภูมิทัศน์พระนครเพื่อเป็นสถานที่จัดงานในบริเวณพื้นที่บริเวณนั้นเป็นที่ว่างเปล่าทางประเทศไทยจึงให้ความสำคัญต่อการศึกษาโดยเป็นนโยบายของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยที่ พระครูสุวรรสุทธิการ(ปลัดทองสุข สีลวณโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพลีลาพระอารามหลวงได้มอบที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) จำนวน 6 ไร่ 1 งานให้เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนตามนโยบายการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาไปสู่ชานเมือง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โรงเรียนเทพลีลาเปิดสอนครั้งแรกโดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัด เป็นสถานที่เรียนกระทั่งอาคารเรียนหลังแรกเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 ตุลาคม 2505 มีนักเรียนกลุ่มแรกจำนวน 2 คน ครู 4 คน โดยมี นายทิม ผลภาค เป็นครูใหญ่คนแรกโรงเรียนเทพลีลาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความสามารถของผู้บริหารที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนและสถาบันเอกชนต่างๆ อย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนเทพลีลา ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา2514 มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนอย่างยิ่ง ในปีการศึกษา 2542 การก่อสร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 7ชั้น ได้แล้วเสร็จทำให้โรงเรียนเทพลีลามีสภาพทั่วไปที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนและมีความพร้อมในการให้บริการ ด้านการศึกษาแก่ชุมชนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ปัจจุบัน โรงเรียนเทพลีลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนช่วงชั้นที่ 3 - 4 (หรือช่วงชั้นที่ 3 ตามหลักสูตรใหม่)โรงเรียนเทพลีลาเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับย่านรามคำแหง ทั้งด้านสภาพภูมิทัศน์องค์ประกอบต่างๆทุกอาณาบริเวณล้วนเอื้ออำนวย ด้านการเรียนการสอน ด้านการเดินทางหรือแม้แต่สิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันและในปี พ.ศ. 2554 ประวัติโรงเรียนในแต่ละช่วง วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ โรงเรียนเทพลีลาได้เปิดทำการเป็นวันแรก โดยอาศัยศาลาการเปรียญของวัดเทพลีลา เป็นสถานที่เรียน โดยมีนักเรียนรุ่นแรกจำนวน ๒ คน ครู ๔ คน โดยมีนายทิม ผลภาคเป็นครูใหญ่คนแรก พ.ศ. ๒๕๐๖- พ.ศ ๒๕๐๘ จัดสร้างประตูไม้หน้าโรงเรียนชั่วคราว และเป็นปีที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดแสดงสินค้านานาชาติและจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ ๑ ซึ่งจัดบริเวณฝั่งตรงข้ามของโรงเรียน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปัจจุบัน พร้อมได้รับงบประ- มาณในการทาสีโรงเรียน เดินสายไฟและประดับโคมไฟอาคาเรียนหลังแรก พร้อมทั้งถมที่ดินบริเวณ โดยรอบโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๑๘ จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนชุดแรกนำโดย ๑๐ ท่านนำโดย นายสำราญ สารสุวรรณ , นายหุน หรั่งศรี , ผู้ใหญ่เขียน สันประเสริฐ , ผู้ใหญ่หวัง วงษ์สัน ฮัจญีเต๊ะ ขำวิไล , น.ส.อังคณา นันทวิทยา , นายหมัด ทองสุข , นายอิน มูป และนาย สง่า ทีวรัตน ์ และโรงเรียนได้รับงบประมาณ ๑๗๒,๐๐๐ บาท สร้างหอประชุมและโรงอาหารพร้อมโต๊ะอาหาร ๒๒ ชุด ปลายปีงบประมาณและต่อเติม อาคารเรียน ๓ ชั้น เพิ่มอีกเป็นจำนวน ๒๑ ห้องเรียน พร้อมคุรุภัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ - พ.ศ. ๒๕๒๗ สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลาได้เทพื้นถนน และเท คอนกรีต และเทคอนกรีตสร้างสนามบาสเก็ตบอล สนามวอลเล่ย์บอล และจัดซื้อรถยนต์ปิ๊กอัพไว้ใช้ใน โรงเรียน ๑ คัน แล้วได้จัดสรรเงิน สมาคมสร้างรั้ว คอนกรีต แทน สังกะสี พ.ศ. ๒๕๒๘ - พ.ศ. ๒๕๓๔ พระราชปัญญาโกศล รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ได้มอบ พระพุทธรูปยืน ปางเทพลีลา สูง ๔๘ นิ้ว มาเป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน และปีต่อมา ทุบตึกเรียน ๔ ชั้นพ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ. ๒๕๔๒ สร้างอาคาร ๗ ชั้น และ อาคาร ๗ ชั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา" และได้ทำการเปิดอาคารนี้ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๒ นับเป็นเกียรติประวัติ อย่างสูงของชาวเทพลีลา พ.ศ. ๒๕๔๒ - ปัจจุบัน สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนเทพลีลา โดยการนำของ นายสมหวัง บุญสมบัติ นายกสมาคมฯ และนายสำเนา แสงมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพลีลา ขณะนั้นริเริ่มดำเนินการเปิดตลาดนัดขายของเพื่อสนอง นโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้และซื้อของถูกช่วงปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งกิจการดังกล่าวนี้ ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่ง ท่านผู้อำนวยการ ดร.ธงชาติ วงษ์สวรรค์ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนา สิ่งแวดล้อม เพื่อปรับภูมิทัศน์ให้เหมาะกับการเรียนการสอน และปรับปรุงห้องต่างๆทำห้องเรียน ให้เหมาะกับสภาพการเรียนการสอนจนมาถึงปัจจุบัน

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย