ประวัติโรงเรียน ของ โรงเรียนโยธินบูรณะ

ก่อนที่จะมาเป็นโยธินบูรณะ

เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2460 รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) ได้มีจิตศรัทธาสร้างโรงเรียนขึ้นในวัดสะพานสูง เขตบางซื่อ โดยมีอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น เครื่องไม้ เสา คานไม้มุงกระเบื้องซีเมนต์ กว้าง 14 เมตร และยาว 25 เมตร แบ่งออกเป็นห้องเรียน 8 ห้อง ห้องประชุม 1 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง และเมื่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2460 จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามว่า "โรงเรียนอนุวัฒน์ศึกษาคาร"

จากนั้น รองหัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) ได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียน ซึ่งยังคงความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้นแก่คณะครูและนักเรียนของโรงเรียนนี้ พระราชดำรัสตอนหนึ่งในพิธีเปิดโรงเรียน

ต่อมาเมื่อชุมชนรอบ ๆ ขยายตัวขึ้น ความหนาแน่นของประชากรในท้องที่บางซื่อมีมากขึ้น โรงเรียนเดิมคับแคบ ไม่เหมาะสมที่จะขยายเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ได้ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุขครูใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดสะพานสูง (อนุวัฒน์ศึกษาคาร) จึงได้ไปปรึกษากับ หลวงสุนทรอัศวราช (เลขานุการประจำตัวหลวงพิบูลสงคราม และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ซึ่งเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยและได้รับคำแนะนำให้ทำรายงานเสนอต่ออำมาตย์ตรี หลวงพิลาศวรรณสาร (พนักงานตรวจการศึกษาแขวงพระนครเหนือ) สนองต่อกระทรวงธรรมการดำเนินการเจรจาขอที่ดิน 3 แห่งจากกระทรวงกลาโหม คือ

  1. ที่ดินกรมทหารสื่อสาร กองพันที่ 2
  2. ที่ดินริมกองทหารสื่อสาร กองพันที่ 1 ด้านเหนือ
  3. ที่ดินระหว่างถนนสะพานแก้ว (ถนนสามเสน กับโรงเลื่อยล่ำซำ{โรงเลื่อยไม้ไทยในปัจจุบัน}) ตรงข้ามกรมทหารม้ารักษาพระองค์

ในที่สุดกระทรวงกลาโหม (สมัยพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รักษาการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม) ได้รับอนุญาตให้กระทรวงธรรมกาปลูกสร้างโรงเรียนได้บริเวณฝ่ายซ้ายของถนนสะพานแก้ว ตรงข้ามกรมทหารพันม้า (กรมทหารม้ารักษาพระองค์) โดยมีเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่เศษ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2477

โยธินบูรณะ

ต่อมาเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการเสนอว่าที่ดินแปลงนี้กว้างขวาง ตั้งอยู่ในทำเลระหว่างกลางจากโรงเรียนวัดสะพานสูง และโรงเรียนมัธยมวัดจันทร์สโมสร จึงเห็นสมควรที่จะย้ายนักเรียนทั้ง 2 แห่งมารวมกัน เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และต่อมาได้ขยายชั้นเรียนจนถึงระดับมัธยมบริบูรณ์ (ม.8 หรือ ม.ศ.5 ปัจจุบันคือมัธยมศึกษาปีที่ 6) ด้วยเหตุที่ย้ายนักเรียนจากทั้งสองแห่งมาเรียนรวมกันในสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งได้อาศัยที่ดินของกระทรวงกลาโหม และตั้งอยู่ระหว่างกองทหารหลายหน่วยงานอีกทั้งโรงเรียนและชุมชนในเขตทหารได้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พร้อมกันนั้นได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งใหม่นี้ว่า โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะ ส่วนอาจารย์ใหญ่นั้นคือ คุณครูภักดิ์ ฉวีสุข ผู้ที่ได้ออกความคิดเห็นที่จะย้ายเป็นคนแรก อาคารเรียนเป็นอาคารเรือนไม้ 3 ชั้น ชั้นละ 7 ห้อง รวม 21 ห้อง อนุมัติเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2477 เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2477 โดยโรงเรียนเพาะช่างเป็นผู้ดำเนินการในราคาทั้งสิ้น 21,000 บาท และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งเป็น โรงเรียนโยธินบูรณะ สืบมาจนปัจจุบัน

ทำการเปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมโยธินบูรณะแรกเริ่มเป็นนักเรียนชายล้วน จำนวน 516 คน ครู 22 คน จำนวนห้องเรียน 18 ห้อง เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา โดยเริ่มรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2538 และรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในปีการศึกษา 2541

  • ในปี พ.ศ. 2541 โรงเรียนโยธินบูรณะได้มีมติเปิดการเรียนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการในภาษาอังกฤษ หรือโครงการภาคภาษาอังกฤษ (EP : English Program) เป็นโรงเรียนแรกในประเทศไทย
  • ในปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนโยธินบูรณะได้มีมติเปิดการเรียนหลักสูตรของเคมบริดจ์ หรือโครงการนานาชาติ (YBIP : Yothinburana International Program) เป็นโรงเรียนแรกในประเทศไทย
  • ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนโยธินบูรณะได้มีมติเปิดการเรียนหลักสูตรในภาคปกติ (SMP : Science Math Program) หรือห้องพิเศษอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์

โรงเรียนโยธินบูรณะในปัจจุบัน มุ่งมั่นจัดระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม สู่คูณภาพมาตรฐานสากล ปัจจุบันโรงเรียนโยธินบูรณะเป็นโรงเรียนสหศึกษา มีนักเรียนทั้งชายและหญิงทุกระดับชั้น โดยเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

...ข้าพเจ้ามีความพอใจเป็นอันมากที่ได้รับเชิญไปยังโรงเรียนนี้ และได้มีโอกาสขอบใจพระอนุวัฒน์ราชนิยมแทนกระทรวงธรรมการ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ และโรงเรียนนี้ข้าพเจ้าได้รับไว้เป็นสถานศึกษาต่อไป อีกทั้งยังขอบใจแทนในนามกุลบุตรทั้งหลายบรรดาผู้ที่จะได้รับวิชาความรู้ไปเป็นประโยชน์แก่ตัวต่อไปในภายภาคหน้า และขอขอบใจแทนผู้มีหน้าที่ปกครองชาติ ที่ชาติไทยจะได้มีโอกาสได้พ่อเมืองสืบไป จากนักเรียนที่ได้ศึกษาในโรงเรียน

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้อนุมัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในชื่อ สัปปายะสภาสถาน บนพื้นที่ 119 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของแยกเกียกกาย จึงทำให้สถานที่ราชการต่างๆ ในบริเวณนั้นต้องย้ายออกไป ซึ่งรวมถึงโรงเรียนโยธินบูรณะด้วย แต่ว่ารัฐบาลในสมัยนายสมัคร สุนทรเวช ได้มอบพื้นที่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างเป็นโรงเรียนโยธินบูรณะแห่งใหม่ให้แทน โดยได้เริ่มการเรียนการสอนในพื้นที่แห่งใหม่ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนราชินี โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนโยธินบูรณะ http://maps.google.com/maps?ll=13.81386,100.52073&... http://niruth.igetweb.com/index.php?mo=10&art=4234... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8138... http://news.sanook.com/education/education_182292.... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.yothin-alumni.com/ http://http://www2.yothinburana.ac.th/website/Visi... http://www.epyothin.net/ http://www.globalguide.org?lat=13.81386&long=100.5... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.81386,100.5207...