การวัดความเป็นโลกาภิวัตน์ ของ โลกาภิวัตน์

Japanese อาหารจานด่วน แมคโดแนลด์ ของญี่ปุ่นนับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นนานาชาติ

เมื่อมองโลกาภิวัตน์เฉพาะทางเศรษฐกิจ การวัดอาจทำได้หลายทางที่แตกต่างกัน โดยดูจากการรวมศูนย์การเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่อาจบ่งชี้ความเป็นโลกาภิวัตน์เห็นได้ 4 แนวดังนี้:

  • ทรัพยากรและสินค้าและบริการ เช่น ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ การส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ต่อหัวของประชาชาติ
  • แรงงานและคน เช่น อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้าและออกโดยชั่งน้ำหนักกับประชากร
  • เงินทุน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การไหลเข้าและไหลออกของเงินลงทุนทางตรงที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติและรายได้ต่อหัวของประชากร
  • อำนาจและเทคโนโลยี เช่น ความมั่นคง การย้ายขั้วทางการเมือง การเคลื่อนไหวกองกำลังติดอาวุธ การเคลื่อนไหวของงานวิจัยและพัฒนา สัดส่วนของประชากร (และอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา) ใช้เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้า เช่น การใช้อาวุธใหม่ การใช้โทรศัพท์ รถยนต์ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฯลฯ)

นั่นคือ เป็นการวัดดูว่าชาติ หรือวัฒนธรรมนั้นๆ มีความเป็นโลกาภิวัตน์ตั้งแต่ต้นมาถึงในปีที่ทำการวัดล่าสุด โดยการใช้ตัวแทนง่ายๆ เช่น การเคลื่อนไหลของสินค้าเข้า-ออก การย้ายถิ่นฐาน หรือเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น

เนื่องจากโลกาภิวัตน์ไม่ใช่ปรากฏการณ์อย่างเดียวทางเศรษฐกิจ การใช้การเข้าสู่ปัญหาด้วยวิธีแบบหลายตัวแปรมาเป็นตัวชี้วัดความเป็นโลกาภิวัตน์จึงเกิดขึ้นโดยการเริ่มของ “ถังความคิด” (Think tank) ในสวิสเซอร์แลนด์ KOF ดัชนีมุ่งชี้วัดไปที่มิติหลัก 3 ตัวของโลก ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง นอกจากการใช้ตัวชี้วัดหลักทั้งสามตัวนี้แล้ว ดัชนีรวมของโลกาภิวัตน์และตัวชี้วัดกึ่งดัชนีโยงไปถึงการเคลื่อนไหวจริงทางเศรษฐกิจ ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อของบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลของความใกล้ชิดติดต่อกันทางวัฒนธรรม เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการคำนวณด้วย มีการเผยแพร่ข้อมูลนี้เป็นรายปี เป็นข้อมูลรวมของประเทศต่างๆ 122 ประเทศดังในรายละเอียดใน “Dreher, Gaston and Martens (2008)” .

จากดัชนีดังกล่าว ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุดในโลกได้แก่เบลเยียม ตามด้วยออสเตรีย สวีเดน สหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุดตามดัชนี KOF ได้แก่เฮติ พม่า สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และบุรุนดี[4] การวัดอื่นๆ มองภาพโลกาภิวัตน์ในฐานะเป็นกระบวนการที่เป็นปฏิสัมพันธ์ของการหลอมกระจายเพื่อหาระดับของผลกระทบ (Jahn 2006)

เอ.ที. เคียร์นีย์ ( A.T. Kearney) และวารสารนโยบายต่างประเทศ ( Foreign Policy Magazine) ได้ร่วมกันตีพิมพ์ “ดัชนีโลกาภิวัตน์” (Globalization Index) ขึ้นอีกแหล่งหนึ่ง จากดัชนีเมื่อ พ.ศ. 2549 ผลปรากฏว่า สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และเดนมาร์กเป็นประเทศที่เป็นโลกาภิวัตน์มากที่สุด อียิปต์ อินโดนีเซีย อินเดียและอิหร่านเป็นโลกาภิวัตน์น้อยที่สุด ส่วนไทยอยู่ในลำดับที่ 45 และจากดัชนีในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2550 อับดับความเป็นโลกาภิวัตน์ของไทย ตกลงไปอยู่ที่อันดับที่ 59

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลกาภิวัตน์ http://www.caei.com.ar/en/home.htm http://www.forumsocialmundial.org.br/index.php?cd_... http://www3.fis.utoronto.ca/research/iprp/c3n/CI/D... http://convention.allacademic.com/asa2003/view_pap... http://www.gavinkitching.com/africa_3.htm http://www.nytimes.com/2007/01/25/business/25scene... http://www.oxfordleadership.com/DataFiles/homePage... http://www.pastor-russell.com/legacy/giants.html http://reason.com/news/show/34961.html http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR...