ประวัติ ของ โลตัส_(ห้างสรรพสินค้า)

เทสโก้ โลตัส สาขาหลักสี่ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564เทสโก้ โลตัส สาขา สมุทรปราการ

ธุรกิจช่วงแรก-ขายหุ้นให้เทสโก้

โลตัส เกิดจากความต้องการขยายรูปแบบร้านค้าปลีกของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี ในนามของ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด โดยได้จดทะเบียนบริษัทในวันที่ 13 สิงหาคม 2536 มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท[1] โดยได้เปิดบริการสาขาทดลองรูปแบบสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ในนาม โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2537[2] ก่อนที่ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จะเปิดสาขาที่ 2 ในนาม โลตัส ดิสเตาน์สโตร์ ที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร[3] แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนกลายเป็นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ใน พ.ศ. 2541 กลุ่มซีพีตัดสินใจขายหุ้นร้อยละ 75 ของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทมให้กับกลุ่มเทสโก้ ผู้ประกอบการค้าปลีกประเทศอังกฤษ ด้วยมูลค่า 365 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 12,000 ล้านบาท เพื่อให้ได้เงินไปใช้หนี้ต่างประเทศ โดยเป็นแนวทางที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ กล่าวว่า ต้องเลือกสละบางอย่างเพื่อรักษาเรือและเอาชีวิตให้รอด[4]

ตอนวิกฤตผมไปคุยกันสี่พี่น้องว่า ผมรับรองว่าธุรกิจเดิมของเราจะไม่ล้ม ธุรกิจเกษตรทั้งหลาย ผมรับรองว่าไม่ล้มละลายแน่นอน ผมรักษาได้แน่ ส่วนธุรกิจใหม่ที่ผมสร้างขึ้นมา ให้ผมปวดหัวคนเดียวก็พอ พี่ทั้งสามไม่ต้องปวดหัว เพราะผมจะขายธุรกิจที่ผมสร้างขึ้นมาใหม่ก่อน อยากให้พี่ๆ สบายใจ ไม่งั้นเขาก็ห่วง ซึ่งการขายโลตัสออกไปในวันนั้น ทำให้เห็นถึงความผูกพันกับแบรนด์โลตัส ในฐานะที่เป็นผู้สร้างขึ้นมากับมือ— ธนินท์ เจียรวนนท์

ภายหลังการควบรวมธุรกิจจึงได้เปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในช่วงแรกแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้ โลตัส นับตั้งแต่นั้น โดยในช่วงแรกกลุ่มซีพียังคงถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ภายหลังก็ได้ทยอยขายหุ้นออกไปจนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 กลุ่มซีพีถือหุ้นอยู่ไม่ถึงร้อยละ 1 จึงตัดสินใจขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดออกไปในปีนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ให้สามารถให้ความเห็นเรื่องค้าปลีกได้อย่างมีจุดยืน[5]

เทสโก้ โลตัส-ขยายรูปแบบสาขา

เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพลส ในปี พ.ศ. 2563โลตัส ประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2564

ภายหลังการควบรวมธุรกิจจึงได้เปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในช่วงแรกแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น เทสโก้ โลตัส นับตั้งแต่นั้น โดยใช้ สีน้ำเงิน เป็นโทนสีของห้าง โดยในช่วงแรกกลุ่มซีพียังคงถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ภายหลังก็ได้ทยอยขายหุ้นออกไปจนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 กลุ่มซีพีถือหุ้นอยู่ไม่ถึงร้อยละ 1 จึงตัดสินใจขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดออกไปในปีนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ให้สามารถให้ความเห็นเรื่องค้าปลีกได้อย่างมีจุดยืน[6] ใน ปี พ.ศ. 2544 เทสโก้ โลตัส ได้เริ่มขยายรูปแบบสาขาในรูปแบบร้านสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส สาขาแรกย่านรามอินทรา โดยเกิดขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าที่เปลี่ยนไปสู่การมองหาความสะดวกสบายในการจับจ่ายสินค้าใกล้บ้าน[2] ก่อนที่ ในปี พ.ศ. 2546 จะเปิดบริการ "เทสโก้ โลตัส คุ้มค่า" สาขาแรกที่จังหวัดร้อยเอ็ด และ "เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต" สาขาแรกที่พงษ์เพชร[7][8] นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น เทสโก้ โลตัส ยังมีรูปแบบสาขา "ดีพาร์ทเมนต์สโตร์" อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2554 หลังจากที่เทสโก้ โลตัส แพ้การประมูลกิจการคาร์ฟูร์ให้กับกลุ่มคาสิโน เจ้าของบิ๊กซีในประเทศไทยในขณะนั้น และทางบิ๊กซีได้ประกาศใช้แบรนด์ "เอ็กซ์ตร้า" ในการปรับปรุงสาขาคาร์ฟูร์ที่เหลือเกือบทั้งหมด เทสโก้ โลตัส ได้พัฒนารูปแบบสาขา เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์ตร้า ขึ้นมาแข่งอีกหนึ่งรูปแบบ และตั้งเป้าหมายเป็น "พารากอน ของตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต" โดยเริ่มจากการปรับปรุงใหญ่ของสาขาพระรามที่ 4 ที่มี บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนน เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายในระดับ A+ เน้นสินค้านำเข้า เพิ่มสินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่เคยจำหน่ายมาก่อนในเทสโก้ มีความพิเศษด้านความสะดวกสบาย รวมถึงบรรยากาศที่ปลอดโปร่ง[9][10]

การขายกิจการในประเทศไทยให้กับกลุ่มซีพี

เมื่อ พ.ศ. 2557 กลุ่มเทสโก้ ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการจาก Serious Fraud Office ฐานแสดงบัญชีไม่ตรงกับการดำเนินการจริงของบริษัทฯ ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มเทสโก้ลดลงจนขาดทุน 3.1 แสนล้านบาทในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังเกิดเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มเทสโก้จึงตัดสินใจขายกิจการในหลายประเทศรวมถึงประเทศมาเลเซียและเทสโก้ โลตัสในประเทศไทย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินและพยุงสถานะทางการเงินของกลุ่มบริษัท อย่างไรก็ตาม กลุ่มเทสโก้ กลับปฏิเสธการขายกิจการในไทยและมาเลเซีย เนื่องจากเป็นฐานรายได้หลักนอกประเทศอังกฤษของกลุ่มเทสโก้ และกลุ่มยังไม่มีความจำเป็นต้องขายออกไปเพื่อพยุงสถานะทางการเงิน

ต่อมา ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้ข่าวว่ากำลังปรึกษากับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพื่อขอกู้เงินซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสกลับคืนมา คาดว่าจะใช้เงินสูงถึง 2 แสนล้านบาทในการซื้อกิจการกลับมาทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ธนินท์ ได้เปิดเผยภายหลังว่าตนได้เจรจาขอซื้อคืนหลายครั้งแล้ว แต่กลับถูกปฏิเสธเนื่องจากกลุ่มเทสโก้ไม่ยอมขาย ตนจึงเคารพการตัดสินใจของกลุ่มเทสโก้และหยุดแผนการซื้อกิจการทั้งหมดลง

ใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวเดอะการ์เดียน ได้เปิดเผยว่ากลุ่มเทสโก้ กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจขายกิจการในประเทศไทยและมาเลเซีย หลังมีเอกชนในไทยเสนอซื้อกิจการ ซึ่งต่อมาสำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เปิดเผยว่ากลุ่มที่สนใจเข้าซื้อกิจการมีทั้งหมดสามรายคือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มทีซีซี และบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งบลูมเบิร์กคาดว่ามูลค่าซื้อขายอาจสูงถึงหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณสามแสนล้านบาท และอาจกลายเป็นดีลใหญ่มากที่ส่งผลถึงตลาดค้าปลีกในประเทศไทย เนื่องมาจากปัจจุบันเทสโก้ โลตัสมีสาขากว่า 2,000 สาขา หลัก ๆ เป็นสาขาในรูปแบบเอ็กซ์เพรส และตลาดโลตัส หากหนึ่งในสามกลุ่มเป็นผู้ชนะการประมูลกิจการ จะทำให้กลุ่มนั้นพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกทันที ซึ่งต่อมา คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ออกมาแถลงเป็นกรณีพิเศษว่า การประมูลกิจการเทสโก้ โลตัส ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน เนื่องจากจะส่อการผูกขาดทางการค้า และยังได้สั่งการให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เฝ้าระวังดีลนี้เป็นพิเศษ และติดตามการรวมธุรกิจอย่างใกล้ชิด

ต่อมากลุ่มเทสโก้ได้เปิดรับข้อเสนอจากเอกชนทั้งสามราย คือ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ผลปรากฏว่า บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นกิจการร่วมค้าเฉพาะกิจที่ถือหุ้นโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาประมูลสูงสุดที่ 338,445 ล้านบาท โดย ซี.พี. รีเทล ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 กระบวนการซื้อขายทั้งหมดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โลตัสได้มีเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ เปลี่ยนโลโก้ใหม่เป็น Lotus’s โดยตัดคำว่า Tesco ออกและเติม ’s เข้าไป พร้อมปรับใช้สีโทนพาสเทลให้ทันสมัยขึ้น และนำร่องการเปลี่ยนแปลงนี้ที่สาขาเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา (ติดกับเซ็นทรัล อีสต์วิลล์) เป็นแห่งแรก[11] ก่อนจะปรับปรุงให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2565

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สมาคมนักกฎหมายคุ้มครองสิทธิและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ 37 องค์กรผู้บริโภคและผู้บริโภคทั่วประเทศ ยื่นฟ้องคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติ 4 ต่อ 3 อนุญาตให้กลุ่มซีพีเข้าควบรวมกิจการเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยได้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มซีพีมีส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มโมเดิร์นเทรดสูงถึง 83.97% ถือเป็นการผูกขาดทางการค้าอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจรายย่อย และส่งผลต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากกลุ่มซีพีเป็นบริษัทด้านการเกษตรและการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ มีธุรกิจครอบคลุมการดำรงชีวิตของประชาชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ[12] โดยคดีดังกล่าวมีสำนักผู้ตรวจการแผ่นดินรับฟ้องเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564[13] และศาลปกครองกลางมีคำสั่งรับฟ้องเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564[14] โดยทั้งสองคดียังอยู่ในระหว่างการสืบหาพยานหลักฐาน และไต่ส่วนเพื่อพิพากษาคดีต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ซีพี ออลล์ ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่ามติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ร่วมกับที่ประชุมของกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มีมติให้ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) รับโอนกิจการของ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ทั้งหมด อันประกอบด้วย บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (บริษัท เทสโก้ สโตร์ (เอเชีย) จำกัด เดิม), บริษัท โลตัส สโตร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โลตัส สโตร์ (มาเลเซีย) จำกัด และบริษัท เอก-ชัย ดิสทิบิวชัน ซิสเท็ม จำกัด ซึ่งจะช่วยให้แม็คโครและโลตัสสามารถบริหารงานกันเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น และเป็นการลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของกลุ่มซีพีอีกด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลตัส_(ห้างสรรพสินค้า) http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4... http://www.sakhononline.com/report/?p=17https://mg... http://www.tescolotus.com/ http://www.tescolotus.com http://www.tescolotus.com/location http://www.tescolotus.com/location/ https://thestandard.co/resolution-to-combine-cp-an... https://www.bbc.com/thai/thailand-56398660 https://www.farminguk.com/news/tesco-urged-to-drop... https://www.jobtopgun.com/content/profile/tesco/in...