โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ

โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ (อังกฤษ: tragedy of the commons) เป็นสภาวะลำบากซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่ปัจเจกชนหลายคนกระทำการโดยไม่ขึ้นต่อกันและพิจารณาประโยชน์ส่วนตนอย่างสมเหตุสมผล แต่กลับทำให้ทรัพยากรใช้ร่วมกันอันจำกัดหมดไปในท้ายที่สุด แม้ว่าจะเป็นที่ชัดเจนว่ามันไม่ใช่ผลประโยชน์ในระยะยาวของทุกคนหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น สภาวะดังกล่าวได้รับการอธิบายในบทความทรงอิทธิพล ชื่อ "โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ" เขียนขึ้นโดยการ์เร็ตต์ ฮาร์ดิน และได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสารไซแอนซ์ในปี ค.ศ. 1968[1]ทฤษฎีสาธารณสมบัติของฮาร์ดินมักถูกอ้างบ่อยครั้งในการสนับสนุนความคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การประสานกันของการเติบโตทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และได้มีผลกระทบต่อปัญหาในปัจจุบันหลายประเด็น รวมทั้งการโต้วาทีเกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อน "โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ" ถูกเตือนบ่อยครั้งว่าจะเป็นผลที่ตามมาของการใช้นโยบายซึ่งจำกัดอสังหาริมทรัพย์เอกชน[2][3]

ใกล้เคียง

โศกนาฏกรรมของตัวร้ายสุดแกร่งอย่างราชินีลาสบอสจะขอถวายตัวเพื่อปวงชน โศกนาฏกรรม 9 เมษายน โศกนาฏกรรม โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร โศกนาฎกรรมมิวนิก โศกนาฏกรรมท่าอากาศยานเตเนรีเฟ โศกนาฏกรรมที่โบปาล โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ โศกนาฎกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย