ประวัติ ของ โอกาเนสซอน

การพยายามสังเคราะห์ที่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ปลายปี พ.ศ. 2541 รอแบร์ต สมอลัญชุก นักฟิสิกส์ชาวโปแลนด์ ตีพิมพ์ผลการคำนวณของการหลอมรวมของนิวเคลียสอะตอมที่เกิดขึ้นระหว่างการสังเคราะห์ธาตุเคมีหนักยิ่งยวด รวมถึง อูนอูนออกเทียม[13] การคำนวณของเขาให้ผลออกมาว่าเป็นไปได้ที่จะสร้างอูนอูนออกเทียมขึ้นมาจากการหลอมรวมตะกั่วและคริปทอนเข้าด้วยกัน ภายใต้ภาวะที่ถูกควบคุมไว้อย่างดี[13]

ในปี พ.ศ. 2542 นักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์เบิร์กลีย์ ใช้การทำนายนี้สร้างอะตอมขึ้นมา และประกาศการค้นพบลิเวอร์มอเรียม และอูนอูนออกเทียม ในหนังสือ Physical Review Letters[14] ต่อมาไม่นาน ผลการค้นพบก็ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารไซเอินซ์[15] นักวิจัยรายงานว่าเขาสร้างด้วยปฏิกิริยานี้

36 86 K r + 82 208 P b → 118 293 U u o + 0 1 n {\displaystyle \,_{36}^{86}\mathrm {Kr} +\,_{82}^{208}\mathrm {Pb} \,\to \,{}_{118}^{293}\mathrm {Uuo} +\;_{0}^{1}\mathrm {n} \;}

ปีต่อมา นักวิจัยได้ตีพิมพ์เอกสารเพิกถอนการค้นพบ หลังจากที่นักวิจัยในห้องปฏิบัติการอื่น ไม่สามารถสร้างอะตอมได้ด้วยวิธีเดียวกันนี้ และที่ห้องปฏิบัติการเบิร์กลีย์เองก็ไม่สามารถสร้างอะตอมขึ้นมาได้อีกครั้ง[16] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการได้ประกาศว่าการค้นพบธาตุสองตัวนั้น อยู่บนพื้นฐานของผลการวิจัยจากวิกเตอร์ นิมอฟ[17][18]

รายงานการค้นพบ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอกาเนสซอน http://lch.web.psi.ch/files/anrep03/06.pdf http://www.apsidium.com/elements/118.htm http://discovermagazine.com/2007/jan/physics/artic... http://discovermagazine.com/2007/jan/physics/artic... http://abcnews.go.com/US/wireStory?id=2574354 http://books.google.com/books?id=0xcAM5BzS-wC&prin... http://www.nature.com/news/2006/061016/full/061016... http://physicsworld.com/cws/article/news/2629 http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://enews.lbl.gov/Science-Articles/Archive/118-...