การลดความกำกวมของคันจิ ของ โอกูริงานะ

โอกูริงานะช่วยลดความกำกวมของคันจิที่มีหลายคำอ่านได้ โดยเฉพาะคันจิที่มีหลายความหมายและหลายคำอ่าน โอกูริงานะจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนตั้งใจสื่อได้

ตัวอย่างเช่น

上がる (agaru) อางารุ"ขึ้น/พร้อม/เสร็จ" ในกรณีนี้ 上 อ่านว่า "a"上る (noboru) โนโบรุ"ขึ้น/ปีน (บันได) " ในกรณีนี้ 上 อ่านว่า "nobo"下さる (kudasaru) คุดาซารุ"ให้ [ผู้พูด]" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "kuda"下りる (oriru) โอริรุ"ออกจาก/ลง" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "o"下がる (sagaru) ซางารุ"ห้อย, แขวน" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "sa"

ตัวอย่างอื่น ได้แก่

話す (hanasu) ฮานาซุ"พูด" เช่น ちゃんと話す方がいい。 (chanto hanasu hou ga ii) ชันโตะ ฮานาซุ โฮ กะ อี แปลว่า "พูดให้ถูกต้องดีกว่า"話し (hanashi) ฮานาชิรูปนามของกริยา"พูด" เช่น 話し言葉と書き言葉 (hanashi kotoba to kaki kotoba) ฮานาชิ โคโตบะ โทะ คากิ โคโตบะ แปลว่า "คำในภาษาพูดและคำในภาษาเขียน"話 (hanashi) ฮานาชิ"เรื่องราว, การสนทนา" เช่น 話はいかが? (hanashi wa ikaga?) ฮานาชิ วะ อิกางะ? แปลว่า "เรื่องเป็นอย่างไรเหรอ"

กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้กำหนดวิธีการใช้โอกูริงานะที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็ยังมีการใช้ที่แตกต่างกันให้พบเห็นบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น คำว่า "kuregata" ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า 暮れ方 แต่บางครั้งก็มีคนเขียนเป็น 暮方

บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา