คุณสมบัติ ของ โอปอล

คุณสมบัติทางเคมีคุณสมบัติทางเคมีของโอปอล จะมีสูตรเคมีที่คล้ายแร่ควอตซ์ แต่มีโมเลกุลของน้ำปนอยู่ด้วยในสูตรโมเลกุล คือ SiO2. nH2Oมีคุณสมบัติ ไม่หลอมละลาย (infusible) ไม่ละลาย (insoluble) มีปฏิกิริยาเคมีคล้ายกับควอตซ์

คุณสมบัติทางฟิสิกส์

คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของโอปอล คือ ไม่มีรูปผลึก (Amorphous) และมักจะมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น (botryoidal)

ภาพแสดง โครงสร้างของโอปอล

หรือคล้ายๆ หินย้อย (Stalactite) มีรอยแตกเว้ากึ่งๆโค้ง มีความแข็งอยู่ในช่วง 5.5 - 6.5 ตามสเกล ความแข็งมาตรฐานโมห์ (Moh's scale of hardness) มีค่าความถ่วงจำเพาะ 1.9 - 2.2 มีความวาวคล้ายแก้ว บางครั้งก็มีความวาวคล้ายยางสน สีของโอปอลอาจจะเป็นสีขาว ไม่มีสี สีเหลือง แดง น้ำตาล เขียว เทาและน้ำเงินขึ้นกับมลทินที่เข้ามาเจือปนอยู่ บางครั้งจะแสดงคุณสมบัติโอปอเลสเซนท์ (Opalescense) คือเมื่อขยับไปมาจะเล่นสีได้เนื้อมีลักษณะโปร่งใสถึงโปร่งแสง ค่าดัชนีหักเหหรือมาตรการแสงหักเห (Refractive index) ไม่คงที่ ปกติอยู่ในช่วงระหว่าง 1.435 - 1.455โอปอลไม่มีรอยแยกแนวเรียบ (Cleavage) อย่างเช่นรัตนชาติอื่นๆ มีแต่เฉพาะรอยแตก (Fracture) ซึ่งมักจะแตกเป็นรูปก้นหอย (Conchoidal fracture)

นอกจากนี้แล้ว โครงสร้างของโอปอลยังเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือโมเลกุลซิลิกอนไดอ๊อกไซด์จับตัวกันแบบรูปปิรามิดโดยมีน้ำแทรกอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการเล่นสีขึ้น คล้ายกับการเกิดรุ้งบนฟองสบู่โอปอลมีหลายสี แต่ที่พบมาก คือสีขาว สีดำถือว่าราคาแพงที่สุดเพราะจะทำให้การเล่นสีเด่นชัดขึ้น โอปอลไฟ (เหลือง ส้ม แดง) มักจะนำมาเจียระไน และใช้แทนทับทิม โอปอลที่หายาก คือ สีเขียว น้ำเงินโอปอลจะบอบบาง จึงมักจะถูกประกบด้านล่าง 2-3 ชั้น ด้วยโอปอลสีดำ และด้านบนปะด้วยควอทซ์ใส ซึ่งเป็นวิธีที่ดีมากในการนำโอปอลมาทำแหวน หรือเครื่องประดับอื่นๆที่ต้องการการปรับปรุงคุณภาพอย่างหยาบ

ใกล้เคียง