ประวัติการทำงาน ของ โอภาส_อรุณินท์

เริ่มงานครั้งแรกเป็นเสมียนศาลอาญา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2496 ต่อมาโอนรับราชการกรมอัยการ (ปัจจุบันคือ สำนักงานอัยการสูงสุด) ในตำแหน่งดังต่อไปนี้ เริ่มตั้งแต่เป็นอัยการผู้ช่วยกองคดี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยประจำศาล จังหวัดแม่สอด พ.ศ. 2503, จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2505, จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2511 จากนั้นเข้าประจำกรมอัยการ ในตำแหน่งอัยการประจำกองที่ปรึกษา พ.ศ. 2514 อัยการประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2517 เลื่อนเป็นอัยการพิเศษประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2520 หัวหน้าพนักงานอัยการ กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา พ.ศ. 2525 อัยการพิเศษฝ่ายฎีกา พ.ศ. 2527 อัยการพิเศษฝ่ายคดีธนบุรี พ.ศ. 2529 อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา 1 ม.ค. 2530 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองอัยการสูงสุดฝ่ายบริหาร ปลาย พ.ศ. 2530 (ระหว่างนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย,และเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา) และอัยการสูงสุดเมื่อ 1 ต.ค. 2536 และเกษียณอายุ เมื่อ 30 ก.ย. 2537[6],[7]

หลังเกษียณอายุได้เข้าเป็นกรรมการร่างกฎหมายกฤษฎีกา และเป็นหนึ่งในประธานฯ/กรรมการ ป.ป.ป.ในสมัยรัฐบาล "บรรหาร" (22 ส.ค. 2538)[8],[9] ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสภาแต่งตั้ง (พ.ศ. 2539) จนลาออกจากประธาน ป.ป.ป. (23 มี.ค. 2542) เพื่อดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ป.ป.ช. [10],[11] ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (1 เม.ย. 2542 - ครบวาระ 24 ต.ค. 2546) มีผลงานหลายผลงาน โดยเฉพาะการร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ และผลงานที่สำคัญของกรรมการในชุดแรกนี้ [12], คือ

  • จากนั้นว่างเว้นจากภารกิจ จนได้รับการเลือกตั้งจากอัยการตั้งแต่ขั้น 2 ขึ้นไป 1,867 เสียงจากผู้มีสิทธิ 2,784 คน [17],[18] ขึ้นเป็นประธานกรรมการ กอ. (คณะกรรมการอัยการ) วาระเดือน ตุลาคม 2550 - ตุลาคม 2553