ประวัติ ของ โอมานแอร์

จุดเริ่มต้น

ย้อนกลับไปปี พ.ศ. 2513 ได้มีการก่อตั้ง โอมาน อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์วิส (โอไอเอส) ซึ่งบริษัทให้บริการภาคพื้นแก่ธุรกิจการบินที่สนามบินอัลฟาลาซ[4] ในปี พ.ศ. 2515 บริษัทได้ย้ายฐานปฎิบัติการไปยังอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศนานาชาติซีป. บริษัทได้เข้ารับช่วงต่อจาก กัฟล์แอร์ ในเครื่องบินขนาดเล็กในปี พ.ศ. 2520 ก่อนการจัดตั้ง แผนกวิศวกรรมอากาศยาน ในปีเดียวกัน จากการขยายตัวของธุรกิจการบินอย่างรวดเร็วของประเทศโอมาน ทำให้โอไอเอสมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงเก็บเครื่องบิน ฐานปฏิบัติงาน และอาคารปรุงอาหารสำหรับเที่ยวบิน เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ

ในปี พ.ศ. 2524 กลุ่มธุรกิจบริการการบินโอมานได้เข้าเป็นบริษัทร่วมทุน บริษัทได้ทำการซื้อเครื่องบินจากสายการบินกัฟล์แอร์ทั้งหมด 13 ลำ เพื่อทดแทนเครื่องแบบใบพัดยี่ห้อ โฟคเคอร์ 27-500 และ 27-600 ในปีเดียวกัน บริษัทได้เริ่มให้บริการเครื่องบินแบบไอพ่น พร้อมกับสายการบินกัฟล์แอร์ ไปยัง ซาลาล่า จากปี พ.ศ.2526 ถึงปี พ.ศ. 2536 บริษัทมีคำสั่งซือเครื่องบินใหม่ รวมไปถึงเครื่องยี่ห้อ เชสน่า และอึปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จะทำให้การให้บริการดีขึ้น

ยุคการก่อตั้งปี พ.ศ. 2536

สายการบินโอมานแอร์ Boeing 737-800 สีและลายเริ่มต้นของสายการบินA former Oman Air ATR 42-500

ในปี พ.ศ. 2536 สายการบินโอมานแอร์ได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม ทางสายการบินได้เช่าเครื่อง โบอิ้ง 737-300 จาก แอนเซส เวิร์ลไวด์ เอวิเอชั่น เซอร์วิส ให้บริการในเส้นทาง มัตกัส ไปยัง ซาลาล่า[5] ในเดือนกรกฏาคมปีเดียวกัน ทางสายการบินไดเริ่มให้บริการในเส้นทางต่างประเทศเป็นครั้งแรกไปยัง ดูไบ โดยยังคงใช้เครื่องโบอิ้ง 737-300[4] และจุดหมายปลายทางอื่นๆ ที่ตามมาอย่าง ทิวันรัม เปิดให้บริการในเดิอนพฤศจิกายน เส้นทางไป คูเวท และ การจี ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2534 เส้นทาง โคลอมโบ เดือนตุลาคม [4] ในปี พ.ศ. ได้ทำการเช่าซื้อเครื่องบิน แอบัส เอ320 จากกลุ่มทุนสิงคโปร์เพื่อทดแทนเครื่อง 737 จากปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 เปิดให้บริการในเส้นทางมุมไบ, ดากา, อะบูดาบี, โดฮา และ เชนไน ในเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2541 สายการบินโอมานแอร์เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่าประเทศ ไอเอทีเอ เมื่อสิ้นสุดของปี สายการบินได้เพิ่มเส้นทางไปยัง จีวาเดอร์, เจดดาร์ และ อัลอิน จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสายการบิน

การพัฒนาตั้งแต่ยุค 2000s

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลโอมาน เห็นชอบให้เพิ่มทุนในสายการบินจาก 33 เปอร์เซ็น เป็น 80 เปอร์เซ็นโดยประมาณ [6] นอกจากนี้ สายการบินโอมานแอร์ต้องทำการประเมินให้เป็นไปตามกลยุทธ์เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ในระยะยาว [6] และรัฐบาลโอมานประกาศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ว่าจะดึงสายการบินออกจากกัฟล์แอร์ โดยจะเน้นพัฒนาสายการบินในนามโอมานแอร์อย่างเต็มรูปแบบ [7] ในวันที่ 26 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2550 สายการบินโอมานแอร์ได้เปิดเส้นทางการบินไประยะไกลไปยัง กรุงเทพ และ ลอนดอน.[8]

วันที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2550 สายการบินโอมานแอร์ทำการสั่งซื้อเครื่องบินจากบริษัทแอร์บัส รุ่น แอร์บัส เอ330 จำนวน 5 ลำจากงาน ดูไบแอร์โชว์ ซึ่งมีกำหนดส่งในปี พ.ศ.2552 สุดท้ายสายการบินโอมานแอร์ทำการสั่งซื้อเครื่องบิน แอร์บัส เอ330-300 จำนวน 3 ลำ และ เอ330-200 จำนวน 2 ลำ การเริ่มจัดส่งถูกกำหนดในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2552 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2552 ทำการสั่งเช่าเครื่อง แอร์บัส เอ330-200 จาก สายการบินเจทแอร์เวย์.[9] สืบเนื่องจากงานดูไบแอร์โชว์ในปี พ.ศ. 2552 สายการบินได้ทำการสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น เอ็มเบรอ 175 จำนวน 5 ลำ พร้อมกับตัวเลือก 5 ตัว ที่มีการกำหนดรับมอบในปี 2553 [10]

ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2553 สายการบินโอมานแอร์เป็นสายการบินแรกของโลกที่ให้บริการโทรศัพท์และระบบอินเตอร์เน็ตบนเครื่องบิน [11][11][12][13] ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2553 ทางรัฐบาลโอมานได้เพิ่มทุนกับสายการบินมาอยู่ที่ 99.8 เปอร์เซ็น [14] ในปี พ.ศ. 2554 สายการบินโอมานแอร์ได้รับรางวัลเหรียญทอง "สายการบินประจำปี" จากงาน Laurier d'Or du Voyage d'Affaires ในฝรั่งเศส[15]ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้เปิดเผยข้อมูลที่จะขยายขนาดของฝูงบินเพิ่มเป็น 50 ลำ ภายในปี พ.ศ. 2560 [16] เดือนเมษายน พ.ศ. 2558 สายการบินประกาศที่จะลดการใช้เครื่องบินขนาดเล็กและเพิ่มการใช้งานเครื่องแอร์บัสและโบอิ้งเข้ามาในฝูงบิน[17] เครื่อง เอทีอาร์ 42-500 จำนวน 2 ลำ ถูกปลดประจำการสิ้นปี พ.ศ. 2558 และ เครื่อง เอ็มเบรอ 175 จำนวน 4 ลำ และ เครื่องโบอิ้ง 737-700 จะถูกปลดประจำการภายในสิ้นปี พ.ศ. 2559 [18] เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 มีแผนจะทำการเปลี่ยนเครื่องแอร์บัส เอ330 ไปเป็นเครื่องแอร์บัส เอ350 หรือ โบอิ้ง 787

เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2560 สายการบินโอมานแอร์ได้รับรางวัล "พนักงานสายการบินที่ดีที่สุดในตะวันออกลาง" ในงาน สกายแทรกซ์เวิร์ลแอร์ไลน์อวอร์ด [19] นอกจากนี้ในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ยังได้รับรางวัล "สายการบินที่ดีที่สุดในยุโรป ตะวันออกกลางและ แอฟริกา" จากงาน Seven Stars Luxury Lifestyle and Hospitality Awards เป็นปีที่สองติดต่อกัน [20]ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2561 ประธานบริหารของโอมานแอร์ มร.อับดุลาซีส บิน ซาอุด อัล ไรซี จะเพิ่มจำนวนเครื่องบินให้ถึง 70 ลำและเพิ่มจุดหมายปลายทางใหม่อีก 60 ที่หมายใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2565 [21]

เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2562 สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไอเอทีเอ) ได้ให้ใบรับรองระดับ 4 กับการกระจายความสามารถใหม่แก่สายการบินประจำชาติโอมาน ซึ่งเป็นสายการบินแรกที่ทำงานบนมาตรฐานล่าสุด และเพิ่มความสามารถเดิมที่เคยอยู่ในระดับ 3[22]

โอมานแอร์ ร่วมกับ สารการบินเคนย่าแอร์เวส์ ในการใช้ความร่วมมือด้านการบิน ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ในการเพิ่มเส้นทางการบินจากไนโรบี ไปยังแอนเทบเบ ในอุกันด้า และ โจฮันเนสเบิร์กใน ประเทศแอฟริกาใต้[23]

==กิจการองค์กร

ชั้นธุรกิจบนเครื่อง แอร์บัส เอ330-300

บริการบนเที่ยวบิน

เพื่อให้เป็นไปตาม กฏหมายอาหารของอิสลาม อาหารที่ให้บริการบนเครื่องต้องได้รับเครื่องหมายฮาลาล อาหารพิเศษก็มีให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการ เครื่องดื่มมืนเมา มีให้บริการสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศยกเว้นในเส้นทาง ซาอุดิอารเบีย และอิหร่าน เนื่องจากประเทศข้างต้นไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายศาสนา

เครื่องบิน แอร์บัส เอ330-300 และ โบอิ้ง 787 มีให้บริการอินเตอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์บนเครื่อง มีนิตยสารให้บริการบนเครื่องชื่อว่า "วิงค์ออฟโอมาน" ที่มีให้บริการทุกชั้นการบินในสองภาษาคือ ภาษาอังกฤษและอาหรับ


สมาชิก

ซินดแบด คือชื่อโปรแกรมสะสมไมล์ของสายการบินโอมานแอร์ที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2549 ประกอบไปด้วย 3 ลำดับชั้นการสะสมไมล์ ประกอบด้วย บัตรฟ้า บัตรเงิน และบัตรทองตามลำดับ โดยจะขึ้นชั้นบัตรเงินได้ต้องมีการสะสมไมล์ 20,000 ไมค์ หรือ 15 เที่ยวบิน และบัตรทองต้องสะสมไมล์ 40,000 ไมค์ หรือ 30 เที่ยวบิน ภายในระยะเวลา 12 เดือน และต้องรักษาไมล์ภายใน 12 เดือนตามคะแนนข้างต้น สำหรับโปรแกรมสะสมไมล์ซินดแบดมีการทำข้อตกลงกับทางสายการบินเอธิฮัด เพื่อทำการสะสมไมล์ได้[24]

การให้การสนับสนุน

  • โอมานแอร์ให้การสนันสนุนการแข่งขันกอล์ฟรายการ "the 2015 NBO Golf Classic Grand Final".[25]
  • เด็กกำพร้าในปาเลสไตน์เข้าเยี่ยมชมศูนย์สวัสดิภาพเด็กอัลคูด์ สนับสนุนโดยสารการบินโอมานแอร์และสายการบินเดลต้า.[26]

ลาย

ลายเครื่องบินเดิมจะใช้สีแดงคาดบนตัวเครื่องสีขาว และมีสัญลักษณ์ของสายการบินโอมานแอร์ แถบสีเขียวถูกทาไว้ที่หาง มีคำภาษาอังฤษและอาหรับว่า Oman Air ไว้ล่างและบนตรงบริเวณหน้าต่างหลังประตูหน้าสุดของเครื่อง ส่วนหางของเครื่องบินใช้สีแดง สำหรับในปัจจุบัน เครื่องบินใช้สีขาวเป็นพื้น ลายเส้นเปลี่ยนเป็นสี่ฟ้า และโลโก้เปลี่ยนเป็นสีทอง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอมานแอร์ http://www.onair.aero/en/press-centre-news-release... http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-... http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-... http://www.aircraftinteriorsinternational.com/news... http://aviationtribune.com/airlines/africa/oman-ai... http://www.boeing.com/commercial/#/orders-deliveri... http://centreforaviation.com/profiles/airlines/oma... http://ch-aviation.com/portal/news/37007-oman-air-... http://www.eturbonews.com/14134/oman-air-adds-firs... http://www.flightglobal.com/news/articles/oman-air...