โชค ของ โอมิกูจิ

โอมิกูจิที่ศาลเจ้าทงงุฮกไกโดที่ซัปโปโระ

การเสี่ยงโอมิกูจิมักทำโดยการเขย่ากล่องที่มีแท่งไม้เขียนหมายเลยบรรจุอยู่ จนแท่งไม้แท่งหนึ่งโผล่ออกมาจากรูที่ฝากล่อง หลังจากนั้นผู้เสี่ยงก็จะไปหยิบโอมิกูจิจากช่องที่มีหมายเลขตรงกับหมายเลขบนแท่งหมาย (คล้ายกับการเสี่ยงเซียมซี) อย่างไรก็ดี ศาลเจ้าและวัดหลายแห่งเปลี่ยนมาใช้วิธีให้ผู้เสี่ยงโชคหยิบโอมิกูจิที่พับแล้วจากกองโอมิกูจิเอง หรือไม่ก็ใช้เครื่องหยอดเหรียญ คำทำนายที่เขียนบนโอมิกูจิมีอยู่หลายแบบ ซึ่งเป็นทั้งโชคดีและโชคร้าย (เรียงตามขอบเขตของโชคลาภ):[2]

ลำดับ กันซังไดชิเฮียกูเซ็ง เป็นไปตามนี้:

ลำดับ กันซังไดชิเฮียกูเซ็ง จะเพิ่มบางโชค เช่น "โชคร้ายมาก" (ญี่ปุ่น: 大凶; โรมาจิ: dai-kyō; ทับศัพท์: ไดเกียว)

คำทำนายบนโอมิกูจิมักประกอบด้วยคำทำนายทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับชีวิตของบุคคล โดยมีความเป็นไปได้หลายแบบ:

มีธรรมเนียมว่าหากโอมิกูจิที่จับได้ทำนายว่าโชคไม่ดี คนที่จับได้ต้องนำไปผูกไว้ที่ต้นสนในศาลเจ้าหรือวัดเพื่อป้องกันไม่ให้คำทำนายกลายเป็นจริง เหตุที่ทำเช่นนี้คือการเล่นคำว่า "ต้นสน" (松 อ่านว่า มัตสึ) กับคำว่า "รอ" (待つ อ่านว่า "มัตสึ" เช่นกัน) โดยกล่าวกันว่าการผูกจะทำให้โชคร้ายรออยู่ที่ต้นสน ไม่ไปเกาะคน ส่วนโอมิกูจิที่ทำนายว่าโชคดีนั้น ผู้ที่จับได้ควรจะเก็บเอาไว้ แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีคนเชื่อโอมิกูจิเท่าไหร่ โอมิกูจิก็ยังมีให้จับได้ในศาลเจ้าและวัดเกือบทุกแห่งในญี่ปุ่น และยังเป็นของคู่กับศาลเจ้าและวัดญี่ปุ่นตราบจนทุกวันนี้