โอมูอามูอา
โอมูอามูอา

โอมูอามูอา

โอมูอามูอา (อังกฤษ: ʻOumuamua; ชื่ออย่างเป็นทางการ 1I/2017 U1) เป็นวัตถุระหว่างดาวฤกษ์วัตถุแรกที่ทราบที่ผ่านเข้าระบบสุริยะ รอเบิร์ต เวริก (Robert Weryk) ค้นพบบนแนววิถีไฮเปอร์บอลิกที่เยื้องศูนย์กลางมากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560 หลังผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 40 วัน มีการสังเกตครั้งแรกโดยกล้องโทรทรรศน์ แพนสตาส์ (Pan-STARRS) เมื่อวัตถุมีระยะห่างจากโลกประมาณ 85 เท่าของระยะทางโลก–ดวงจันทร์[1] โดยมุ่งออกจากดวงอาทิตย์ เดิมคาดว่าเป็นดาวหาง แต่หนึ่งสัปดาห์ถัดมามีการจำแนกใหม่เป็นดาวเคราะห์น้อย ซึ่งขณะนั้นเป็นวัตถุระหว่างดาวฤกษ์กลุ่มใหม่วัตถุแรก เนื่องจากแนววิถีไฮเปอร์บอลิกมากของมัน สุดท้ายมันจะออกจากระบบสุริยะและกลับสู่อวกาศระหว่างดาวฤกษ์อีกครั้ง เวลาที่วัตถุนี้เดินทางท่ามกลางดาวฤกษ์ในจานดาราจักรนั้นไม่ทราบโอมูอามูอาเป็นวัตถุขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 800 × 100 ฟุต มีสีดำออกแดง คล้ายวัตถุในระบบสุริยะชั้นนอก วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นักดาราศาสตร์รายงานว่า โอมูอามูอา เป็นดาวหางไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยตามที่เคยจำแนกเอาไว้[2][3]