พิธีการ ของ โอลิมปิกฤดูหนาว_2014

พิธีเชิญคบเพลิง

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก มีขึ้นระหว่างวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 ถึง 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[37]คบเพลิงในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ได้ทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ศูนย์การค้าใกล้กับพระราชวังเครมลิน ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย โดยมี นายดิมิทรี เชอร์นีเชนโก ประธานจัดการแข่งขันในครั้งนี้เป็นผู้กล่าวในพิธีเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

ซึ่งคบเพลิงที่จะใช้วิ่งในกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ได้รับการพัฒนาโดยทีมงานนักออกแบบที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย และมีแรงบันดาลใจมาจาก ขนนกไฟร์เบิร์ด ซึ่งเป็นตัวละครยอดนิยมของนิทานรัสเซีย โดยคบเพลิงทำขึ้นจากอะลูมิเนียมพิเศษผิวมันวาวมีขนาดความยาว 95 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม หรือราว 4 ปอนด์ มี 2 สี คือ สีแดง ที่ใช้ในการวิ่งกีฬาโอลิมปิก และ สีน้ำเงินจะเป็นส่วนของการวิ่งในกีฬาพาราลิมปิก โดยมีการผลิตขึ้นประมาณ 16,000 คบเพลิง นอกจากนั้นยังได้มีการเปิดตัวชุดที่ใช้วิ่งครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

การวิ่งคบเพลิงครั้งนี้จะเริ่มต้นที่กรุงมอสโก และผ่าน 2,900 เมือง 83 ภูมิภาค ใช้เวลาทั้งหมด 123 วัน อีกทั้งการวิ่งคบเพลิงไปยังสถานที่ต่างๆ นั้นมีลักษณะหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นโดยเครื่องบิน, รถไฟ ,การเดินเท้า หรือแม้กระทั่งใช้รถม้าลากเลื่อน ซึ่งมีผู้ถือคบเพลิงมากกว่า 14,000 คน นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างสถิติขึ้นมาใหม่อีกด้วย[41]

พิธีเปิดการแข่งขัน

พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ตลอดสามชั่วโมง ผู้ชมได้เห็นประวัติศาสตร์ของรัสเซีย และวัฒนธรรม รวมทั้งนักกีฬาระดับตำนาน, นักบัลเลต์ หรือแม้แต่นักบินอวกาศ โดยมีเพลงคลาสสิกของรัสเซียคอยบรรเลงประกอบเป็นฉากหลัง

ในช่วงแรกของพิธีเปิดทุกคนได้เห็นเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ของรัสเซียตามด้วยขบวนพาเหรดของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันจากชาติแรกจนครบชาติที่ 87 ซึ่งมีนักกีฬาจากกรีซ ประเทศต้นตำรับกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ เดินทางสู่สนามพร้อมกับนักกีฬารัสเซียที่เป็นเจ้าภาพ โดย อเล็กซานเดอร์ ซูบคอฟ ตำนานนักกีฬาบ็อบสเลจเป็นคนถือธงชาติเข้าสนาม

หลังจากนั้น ดิมิทรี เชอร์นิเชนโก ประธานจัดการแข่งขัน เป็นคนกล่าวเปิดงานคนแรก โดยกล่าวต้อนรับนักกีฬาและผู้ชมเข้าสู่การแข่งขัน ต่อจากนั้น โธมัส บาค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล กล่าวชมฝ่ายจัดการแข่งขัน ที่เตรียมงานได้อย่างยิ่งใหญ่ รวมทั้งชาวรัสเซียที่ร่วมเป็นอาสาสมัครในการจัดการแข่งขันครั้งนี้

พร้อมกระตุ้นนักกีฬาทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันให้แข่งขันอย่างสุดความสามารถ แต่ก็เป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และมีน้ำใจนักกีฬา และสุดท้ายเป็น ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน ของรัสเซียที่ประกาศเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยมี รุสลาน ซาคารอฟ นักวิ่งสเก็ตแทร็คระยะสั้นเป็นตัวแทนนักกีฬาในการกล่าวปฏิญาณตน

ช่วงเวลาสำคัญคือการจุดคบเพลิงไฟโอลิมปิก โดยเริ่มขึ้นในเวลา 22.32 น. ตามเวลาในประเทศรัสเซีย โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย 8 คนประกอบไปด้วย วาเลนติน่า เทเรชโคว่า ซึ่งเป็นนักบินอวกาศหญิงคนแรกที่เดินทางออกไปในอวกาศ, ลิดิย่า สคอบลิโคว่า อดีตแชมป์วิ่งสเก็ตทางยาวโอลิมปิก 6 สมัย, นิกิต้า มิคาอิลคิฟ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง, ชูลปัน คามาโตว่า นักแสดงหญิงชื่อดัง, อนาสตาเซีย โปโปว่า นักข่าวชื่อดัง, วยาเชสลาฟ เฟติซอฟ ตำนาน นักฮอกกี้น้ำแข็ง, วาเลรี่ เกอร์กิเยฟ ผู้อำนวยการเพลง และ อลัน เอนิลีฟ แชมป์แข่งรถเสมือนจริง

ขณะเดียวกัน คบเพลิงไฟโอลิมปิกก็ถูกส่งต่อกันเป็นทอดๆ เริ่มจาก มาเรีย ชาราโปว่า ยอดนักเทนนิสหญิงที่ถือคบเพลิงวิ่งเข้าสู่สนาม ก่อนที่จะส่งต่อให้กับ เยเลน่า อิวินบาเยว่า นักกระโดดค้ำหญิงแชมป์โลกและแชมป์โอลิมปิก หลังจากนั้นมีการส่งต่อไปยัง อเลคซานเดอร์ คาเรลิน แชมป์โลกมวยปล้ำ และ อลิน่า คาบาเยว่า แชมป์ยิมนาสติกหญิง

และสุดท้ายเป็น อิริน่า ร็อดนิน่า อดีตนักสเกตน้ำแข็ง และ วลาดิสลาฟ เทรเตียค กัปตันทีมฮอกกี้น้ำแข็ง ซึ่งทั้งสองคนต่างก็เคยได้เหรียญทองในโอลิมปิกฤดูหนาวมา 3 สมัย ร่วมกันเป็นผู้จุดคบเพลิงไฟโอลิมปิก[42]

พิธีปิดการแข่งขัน

สำหรับพิธีปิดการแข่งขัน จะจัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ซึ่งประกอบด้วยพิธีส่งมอบธงโอลิมปิก จาก นายอนาโตลี ปัคโฮมอฟ นายกเทศมนตรีของเมืองโซชี ไปยังนาย ลี โซค แร นายกเทศมนตรีเมืองพย็องชังของเกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) ระหว่างพิธีปิดตามธรรมเนียม

ท่ามกลางการแสดงแสง สี เสียง ยังคงงดงามตระการตาเช่นเดิม รวมทั้งมีการเล่นมุก เมื่อครั้งที่เกล็ดหิมะไม่ทำงานกางเป็นวงแหวนโอลิมปิก ในพิธีเปิดการแข่งขัน ก็มาถูกล้อในพิธีปิด สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ชมการแสดงอีกด้วย อีกทั้งรัฐบาลรัสเซีย ยังไม่เปิดเผยค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการจัดพิธีปิดการแข่งขันอีกด้วย

ใกล้เคียง

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 โอลิมปิกฤดูหนาว 2010 โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน 1988 โอลิมปิกฤดูร้อน 1996

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอลิมปิกฤดูหนาว_2014 http://insidethegames.biz/winter-olympics/2014/118... http://www.insidethegames.biz/olympics/winter-olym... http://www.insidethegames.biz/olympics/winter-olym... http://www.insidethegames.biz/olympics/winter-olym... http://www.insidethegames.biz/olympics/winter-olym... http://www.rosbalt.biz/2007/10/1/306566.html http://globalnews.ca/news/1123578/record-88-nation... http://www.aroundtherings.com//articles/view.aspx?... http://www.avaya.com/ru/resource/assets/casestudie... http://www.businessweek.com/articles/2014-01-02/th...