โอวาทปาฏิโมกข์ ของ โอวาทปาติโมกข์

นำ (หันทะ มะยัง โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา,การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริ โยทะปะนัง,การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข จะ สังวะโร,การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง,ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต จะ อาโยโค,ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง,ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

นำ (หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)

หันทะทานิ ภิกขะเว,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือน,

อามันตะยามิโว,ท่านทั้งหลายว่า

วะยะธัมมา สังขารา,สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,

อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,

อะยัง ตะถาคะตัสสะนี้เป็นพระวาจาในครั้งสุดท้าย ของพระ-

ปัจฉิมาวาจา.ตาถาคต.

ปัญจอภิณหปัจจเวขณปาฐะ

ชะราธัมโมมหิ, (อ่านว่า ธัม-โมม-หิ)เรามีความแก่เป็นธรรมดา,

ชะรัง อะนะตีโต (ตา)ล่วงความแก่ไปไม่ได้,

พะยาธิธัมโมมหิ,เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา,

พะยาธิง อะนะตีโต, (ตา)ล่วงความเจ็บไข้ไปไม่ได้,

มะระณะธัมโมมหิ,เรามีความตายเป็นธรรมดา,

มะระณัง อะนะตีโต (ตา),ล่วงความตายไปไม่ได้,

สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ,เราละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่า พลัดพราก

นานาภาโว วินาภาโว,ของรัก ของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง,

กัมมัสสะโกมหิ,เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน,

กัมมะทายาโท,เป็นผู้รับผลของกรรม,

กัมมะโยนี,เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด,

กัมมะพันธุ,เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์,

กัมมะปะฏิสะระโณ,เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย,

ยัง กัมมัง กะริสสามิ,จักทำกรรมอันใดไว้,

กัลยาณัง วา ปาปะกังวา,ดีหรือชั่ว,

ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสานิ,จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น,

เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง,เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนือง ๆ

ปัจจะเวกขิตัพพัง.อย่างนี้แล