กำหนดการและการเปลี่ยนแปลง ของ โอเวอร์วอตช์ลีก_ฤดูกาล_2019

กำหนดการแข่งขันสำหรับฤดูกาล 2019 ถูกประกาศเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2561 โดยยังคงรูปแบบการแข่งขันสี่สเตจ (stage) เหมือนที่ใช้ในฤดูกาล 2018 ไว้ แม้ว่าจะมีเพียงเฉพาะสามสเตจแรกเท่านั้นที่มีการแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำรอบ ส่วนสเตจสุดท้ายจะเปลี่ยนเป็นการแข่งขันแบบหกทีมทัวร์นาเมนต์ (six-team tournament) แทนเพื่อคัดเลือกสองทีมสุดท้ายที่จะเข้ารอบในการแข่งขันหลังฤดูกาล[3] ส่วนทีมที่มีคะแนนสูงสุดจำนวนหกทีมในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำฤดูกาล จะใช้วิธีการคัดเลือกแบบเดียวกันกับในที่ใช้ในฤดูกาล 2018 กล่าวคือ เลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุดสองทีมจะแต่ละดีวิชั่นขึ้นมา และคัดเอาอีกสี่ทีมที่มีคะแนนรองลงมาโดยไม่คำนึงถึงดีวิชั่น การแข่งขันรอบเพลย์ออฟประจำฤดูกาลจะเป็นการแข่งขันแบบทัวร์นาเมนต์คัดออกสองรอบ (double-elimination tournament) การแข่งขันฤดูกาลปกติ แต่ละทีมจะลงแข่งทีมละ 28 เกม (จากเดิม 40 ในฤดูกาล 2018) โดยอ้างถึงสุขภาพจิตของผู้เล่น และเพิ่มโอกาสให้ผู้เล่นได้กลับภูมิลำเนาเป็นเหตุผลในการลดจำนวนเกมลง ในแต่ละสเตจจะกินเวลาการแข่งขันรวม 5 สัปดาห์ และเพิ่มการพักระหว่างสเตจจากเดิม 1 สัปดาห์เป็น 2 สัปดาห์ (ยกเว้นการพักระหว่างสเตจ 2 และ 3 ที่จะพักเป็นจำนวน 4 สัปดาห์เนื่องจากเป็นการแข่งขันสุดสัปดาห์ออลสตาร์) ในแต่ละสัปดาห์จะมีการแข่งขันจำนวน 4 เกมต่อวัน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ รวมเป็นสิบหกเกมต่อสัปดาห์ (เพิ่มขึ้นจาก 12 เกมในฤดูกาล 2018) โดยแต่ละทีมจะได้ลงเล่นศูนย์ หนึ่ง หรือสองแมตช์ต่อสัปดาห์ ส่วนรอบเพลย์ออฟประจำสเตจจะเพิ่มขนาดการแข่งขันขึ้นเป็นสองเท่าจากฤดูกาล 2018 โดยขยายจำนวนทีมที่เข้ารอบเพลย์ออฟประจำสเตจเป็น 8 ทีม (จาก 4 ทีมในฤดูกาล 2018) ทีมที่มีคะแนนสูงสุดจากแต่ละดีวิชั่นจะได้เข้ารอบเป็นอันดับที่หนึ่งและสอง ตามด้วยทีมที่มีคะแนนรองอีกหกทีม โดยไม่คำนึงถึงดีวิชั่น[4]

เงินรางวัลรวมเพิ่มขึ้นจาก 3,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 111 ล้านบาท) เป็น 5,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 158 ล้านบาท) โดยทั้งแปดทีมที่ผ่านเข้ารอบเพลย์ออฟจะได้รับเงินรางวัลอย่างน้อย 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.9 แสนบาท) ส่วนผู้ชนะประจำสเตจจะได้รับเงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.3 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้าจาก 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในฤดูกาล 2018 ขณะที่รองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1 ล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากฤดูกาลก่อนถึงสี่เท่า ส่วนอันดับที่สามและสี่จะได้รับเงินรางวัล 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) ขณะที่อันดันที่ห้าถึงแปดจะได้รับเงินรางวัล 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการแข่งขันหลังฤดูกาล ทีมที่เป็นผู้ชนะในรอบแกรนด์ไฟนอลจะได้รับเงินรางวัล 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35 ล้านบาท) (เพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในฤดูกาล 2018) ส่วนอันดับที่สองจะได้รับเงินรางวัล 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 19 ล้านบาท) อันดับที่สามจะได้รับเงินรางวัล 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 14 ล้านบาท) อันดับที่สี่จะได้รับเงินรางวัล 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11 ล้านบาท) อันดันที่ห้าและหกจะได้รับเงินรางวัล 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9.5 ล้านบาท) และอันดับที่เจ็ดและแปดจะได้รับเงินรางวัล 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.3 ล้านบาท)[5]

การเซ็นสัญญาแบบ free agency ถูกเปิดขึ้นให้กับทีมที่ขยายขึ้นมาในวันที่ 10 กันยายน 2561 และหมดเขตในวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าที่ทุกทีมจะเปิดการทำสัญญากับผู้เล่น โดยแต่ทีมจะต้องเซ็นสัญญากับผู้เล่นอย่างน้อย 12 คนภายในวันที่ 1 ธันวาคม[6]

ในฤดูกาล 2019 ยังมีการเซ็นสัญญาแบบสองทาง (two-way contract) เป็นครั้งแรกด้วย โดยผู้เล่นส่วนใหญ่ที่เซ็นสัญญาลักษณะนี้มักเป็นผู้เล่นที่จากการแข่งขันลีก ซึ่งต้องการลงไปเล่นในระดับคอนเทนเดอร์ด้วย ทำให้ผู้เล่นเหล่านั้นไม่สามารถลงแข่งในลีกได้มากกว่าสองแมตช์ต่อสเตจ เนื่องจากไม่สามารถลงแข่งในลีกและคอนเทนเดอร์ในสัปดาห์เดียวกันได้[7]

การแข่งขันส่วนใหญ่จัดขึ้นที่สนามบลิซซาร์ดอารีนา (Blizzard Arena) ความจุ 350 ที่นั่ง[8] นอกเหนือจากการแข่งขันที่สนามบลิซซาร์ดอารีนาแล้วนั้น ฤดูกาล 2019 ยังได้เพิ่มระบบ "สัปดาห์ทีมเหย้า" (Homestand Weeks) ขึ้นเป็นจำนวนสามสัปดาห์ โดยจะจัดการแข่งขันขึ้นที่เมืองอันเป็นที่ตั้งของทีมในลีกจำนวนสามเมือง ได้แก่ สัปดาห์ที่สี่ของสเตจ 2 จัดการแข่งขันขึ้นที่แอลเลนอีเวนท์เซ็นเตอร์ (Allen Event Center) นครแอลเลน รัฐเท็กซัส โดยมีทีมแดลลัส ฟิวเอลเป็นทีมเหย้าและเจ้าภาพ, สัปดาห์ที่ห้าของสเตจ 3 จัดการแข่งขันขึ้นที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (อยู่ระหว่างการคัดเลือกสนาม) โดยมีทีมแอตแลนตา เรนเป็นทีมเหย้าและเจ้าภาพ และครั้งสุดท้าย สัปดาห์ที่ห้าของสเตจ 4 จัดการแข่งขันขึ้นที่เดอะโนโว บาย ไมโครซอฟท์ (The Novo by Microsoft) นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีทีมลอสแอนเจลิส แวเรียนต์เป็นทีมเหย้าและเจ้าภาพ[3]

ใกล้เคียง

โอเวอร์วอตช์เวิลด์คัพ 2018 โอเวอร์วอตช์เวิลด์คัพ 2017 โอเวอร์วอตช์ลีก ฤดูกาล 2018 โอเวอร์วอตช์เวิลด์คัพ 2019 โอเวอร์ลอร์ด โอเวอร์วอตช์เวิลด์คัพ 2016 โอเวอร์วอตช์ลีก ฤดูกาล 2019 โอเวอร์ เดอะ ลิมิต (2011) โอเวอร์มี โอเวอร์เทค!

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอเวอร์วอตช์ลีก_ฤดูกาล_2019 http://www.espn.com/esports/story/_/id/20619703/bl... http://www.espn.com/esports/story/_/id/24062274/ov... https://www.bloomberg.com/news/articles/2018-05-03... https://dotesports.com/overwatch/news/overwatch-le... https://dotesports.com/overwatch/news/overwatch-le... https://dotesports.com/overwatch/news/the-next-sea... https://esportsobserver.com/overwatch-league-free-... https://overwatchleague.com/en-us https://overwatchleague.com/en-us/news/21568602/ru... https://overwatchleague.com/en-us/news/21870971/so...