โอไซริส-เร็กซ์
โอไซริส-เร็กซ์

โอไซริส-เร็กซ์

โอไซริส-เร็กซ์ (อังกฤษ: OSIRIS-REx) เป็นยานศึกษาดาวเคราะห์น้อยและจัดเก็บตัวอย่างของนาซา[6] ยานลำนี้มีเป้าหมายหลักคือการจัดเก็บตัวอย่างหินประมาณ 60 กรัมจากดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู 101955 (101955 Bennu) แล้วส่งกลับมายังโลก วัสดุที่จัดเก็บมานั้นสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการก่อเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ, ขั้นตอนแรกของการก่อตัวของดาวเคราะห์และแหล่งที่มาของสารประกอบอินทรีย์ที่นำมาสู่การเกิดสิ่งมีชีวิตบนโลก[7] และหากภารกิจนี้ประสบความสำเร็จไอไซริส-เร็กซ์จะเป็นยานอวกาศของสหรัฐลำแรกที่ส่งตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยโอไซริส-เร็กซ์ถูกปล่อยออกไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 และเริ้มเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู 101955 เมื่อ 3 ธันวาคม 2561[8] และจะเริ่มทำการศึกษาข้อมูลพื้นผิวในอีกหลายเดือนให้หลังและคาดว่าจะส่งตัวอย่างกลับมายังโลกในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566[9]ภารกิจนี้ใช้งบประมาณไปกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ[10] ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่รวมจรวดแอตลาส 5 ที่ใช้ในการปล่อยสู่อวกาศอีก 183.5 ล้านเหรียญสหรัฐ[11]ยาน โอไซริส-เร็กซ์เป็นยานลำดับที่ 3 ในโครงการภารกิจเขตแดนใหม่ต่อจาก จูโน่ และ นิวฮอไรซันส์

โอไซริส-เร็กซ์

เข้าวงโคจร 3 ธันวาคม 2561 [5]
ผู้ผลิต Lockheed Martin
เว็บไซต์ AsteroidMission.org
ลงจอด แผน: 24 กันยายน 2566, 15:00 ตามเวลาท้องถิ่นสหรํฐ UTC[4]
มวลขณะส่งยาน 2,110 kg (4,650 lb)[2]
รายชื่อเก่า Origins, Spectral Interpretation, Resource Identification, Security, Regolith Explorer
COSPAR ID 2016-055A
กำลังไฟฟ้า 1,226 ถึง 3,000 W[2]
ขนาด 2.44 × 2.44 × 3.15 m (8 × 8 × 10.33 ft)[2]
ประเภทภารกิจ ยานศึกษาและจัดเก็บตัวอย่าง[1]
SATCAT no. 41757
มวลแห้ง 880 kg (1,940 lb)[2]
ผู้ดำเนินการ นาซ่า
วันที่ส่งขึ้น 8 กันยายน 2559, 23:05  UTC[3]
พิกัดลงจอด Utah Test and Training Range[4]
จรวดนำส่ง จรวดแอตลาส 5 411, AV-067[3]
เข้าใกล้สุด 22 กันยายน 2560[2]
ออกวงโคจร 3 มีนาคม 2564 (แผน)[2]
ระยะภารกิจ แผน: 7 ปี
               505 วันบนดาวเคราะห์น้อย
Elapsed: 4 years, 2 months, 16 days, 6 hours
มวลตัวอย่าง 0.1–2.0 kg (0.13–4.4 lb)[4]
ฐานส่ง แหลมคะแนเวอรัล SLC-41
ผู้ดำเนินงาน United Launch Alliance

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โอไซริส-เร็กซ์ http://gsfctechnology.gsfc.nasa.gov/ORIRIS.htm http://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/spacecraftDisplay.d... http://www.nasa.gov/home/hqnews/2011/may/HQ_11-163... http://www.nasa.gov/press/2013/august/nasa-selects... http://www.nasa.gov/press/2015/march/nasa-s-osiris... http://asteroidmission.org http://news.sciencemag.org/scienceinsider/2011/05/... http://www.narit.or.th/index.php/nso/2623-osiris-r... https://astronomynow.com/2016/09/09/osiris-rex-pro... https://www.nasaspaceflight.com/2016/09/atlas-v-os...