การจักจำแนก ของ โอ๊ก

ต้นโอ๊กเป็นพืชมีดอก สกุลของโอ๊กแบ่งออกเป็น 2 สกุลย่อย และมีการแบ่งเป็นส่วน:

สกุลย่อย Quercus

สกุลย่อยQuercus แบ่งได้เป็น:

  • ส่วน Quercus ( Lepidobalanus หรือ Leucobalanus), เป็นกลุ่มของโอ๊กขาวในยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ ผลแก่ภายใน 6 เดือน รสหวานหรือออกขมเล็กน้อย ด้านในของเปลือกผลไม่มีขน ใบไม่มี bristle ที่ส่วนโค้งด้านบน
  • ส่วน Mesobalanus, โอ๊กฮังการีและพืชใกล้เคียงในยุโรปและเอเชีย ผลแก่ภายใน 6 เดือน รสขม ด้านในของเปลือกผลไม่มีขน ส่วน Mesobalanus ใกล้เคียงกับส่วน Quercus และบางครั้งรวมกันได้
  • ส่วน Cerris, โอ๊กตุรกีและพืชใกล้เคียงในยุโรปและเอเชีย ผลแก่ภายใน 18 เดือน และรสขมมาก ด้านในของเปลือกผลไม่มีขน ปลายใบแหลมมี bristles ที่ส่วนโค้งด้านบน
  • ส่วน Protobalanus,โอ๊กลีฟแคนยอนและพืชใกล้เคียงในสหรัฐและเม็กซิโก ผลแก่ภายใน 18 เดือน และรสขมมาก ด้านในของเปลือกผลมีขน ปลายใบแหลมมี bristles ที่ส่วนโค้งด้านบน
  • ส่วน Lobatae (Erythrobalanus), โอ๊กแดงในอเมริกาเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ผลแก่ภายใน 18 เดือน และรสขมมาก ด้านในของเปลือกผลมีขน ผลที่เป็นนัทจริงๆมีเปลือกหุมที่บาง ใบมี spiny bristles ที่ปลาย

มีสปีชีส์ของต้นโอ๊กที่หายากและจัดจำแนกไม่ได้ เช่น : Quercus coccinea Quercus muehlenbergii และ Quercus stellata[2]

สกุลย่อย Cyclobalanopsis

  • โอ๊กที่พบในเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ผลัดใบ สูง 10–40 m ต่างจากสกุลย่อย Quercus ที่เปลือกผลเป็นรูปถ้วย และอยู่เป็นกลุ่ม แม้จะไม่พบทุกสปีชีส์ Flora of China ได้แยก Cyclobalanopsis เป็นสกุลต่างหากแต่นักวิชาการกลุ่มอื่นจัดให้เป็นสกุลย่อยของQuercus มี 150 สปีชีส์ ซึ่งพบในญี่ปุ่นตอนใต้ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ไปจนถึงจีนตอนใต้ ทางเหนือของอินโดจีนไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยตะวันออก