ไกลโฟเสต
ไกลโฟเสต

ไกลโฟเสต

184.5 °C decomp. at 187 °C ไกลโฟเซต (อังกฤษ: Glyphosate) หรือ N-(ฟอสโฟโนเมทิล) ไกลซีน เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม (systemic herbicide) และทำให้แห้งตาย (crop desiccation) จัดเป็นสารประกอบจำพวกออแกโนฟอสฟอรัส (organophosphorus compound) โดยฟอสโฟเนตในสารประกอบดังกล่าวจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ EPSP synthase ในพืช ในอดีตเคยมีการใช้สารดังกล่าวเพื่อกำจัดวัชพืช โดนเฉพาะวัชพืชใบกว้าง (broadleaf weeds) รวมไปถึงวัชพืชอื่นที่เจริญเติบโตกับพืชเกษตรกรรม สารปะกอบไกลโฟเสตถูกพบว่ามีฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืชเมื่อ ค.ศ. 1970 โดย John E. Franz นักเคมีของบริษัทมอนซานโต้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัทดังกล่าวได้มีการผลิตสารประกอบนี้ออกสู่ตลาดเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรในปี คศ. 1974 ภายใต้ชื่อการค้า ราวด์อัพ (Roundup) โดยสิทธิบัตรในการผลิตไกลโฟเซตเพื่อจุดประสงค์ทางการค้าของมอนซานโต้ในสหรัฐอเมริกาได้หมดความคุ้มครองลงในปี คศ. 2000 ปัจจุบันผู้ผลิตรายอื่นจึงสามารถผลิตและจำหน่ายไกลโฟเซตในท้องตลาดได้ในชื่อทางการค้าต่าง ๆ กัน หลังจากมีการผลิตไกลโฟเซตออกสู่ตลาดเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชโดยมอนซานโต้ ทำให้มีการใช้สารดังกล่าวกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการพัฒนาสายพันธุ์พืชเกษตรกรรมโดยการตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อไกลโฟเซต (Roundup Ready Crop) ยิ่งทำให้มีการใช้สารดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งในปี คศ. 2007 ไกลโฟเซตเป็นยากำจัดวัชพืชที่มีปริมาณการใช้งานในภาคเกษตรกรรมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติกในการจัดการเกษตร การตกแต่งสวนหย่อม ภาคอุตสาหกรรม และการใช้ในเชิงพาณิชย์อื่น โดยนับตั้งมีการผลิตไกลโฟเซตเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชในปลายทศวรรษ 1970 จนถึง คศ. 2016 พบว่าทั่วโลกมีการใช้สารดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากถึง 100 เท่าตัวทั้งในด้านความถี่และปริมาณการใช้ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกในอนาคต การใช้ไกลโฟเซตที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ได้ว่ามีการกระจายตัวของพืชที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมให้ทนต่อไกลโฟเซตไปทั่วโลก โดยกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมดังกล่าว รวมถึงการใช้ไกลโฟเซตในภาคเกษตรกรรมนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าทางการเกษตรมีราคาสูงมากขึ้นไกลโฟเซตถูกดูดซึมได้ทางใบ และถูกดูดซึมได้เล็กน้อยทางรากของพืช จากนั้นสารเคมีชนิดนี้เข้าไปออกฤทธิ์ในส่วนที่มีการเจริญเติบโตของพืชนั้นๆ โดยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนจำพวกอะโรมาติกที่สำคัญของพืช 3 ชนิด คือ ไทโรซีน ทริปโตเฟน และฟีนิลอะลานีน ดังนั้นการใช้ไกลโฟเซตจึงมีประสิทธิภาพเฉพาะในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นสารควบคุมก่อนงอกได้ (preemergent herbicide) การเพิ่มขึ้นของพืชเกษตรที่มีการพัฒนาสารพันธุ์พืชเพื่อให้ทนต่อไกลโฟเซต (เช่น ถั่วเหลือง Roundup Ready ซึ่งเป็นพืชทนไกลโฟเซตสายพันธุ์แรกที่มอนซานโต้ปรับแต่งพันธุกรรม) ทำให้มีการใช้ไกลโฟเซตเพื่อเป็นสารควบคุมวัชพืชหลังงอกมากขึ้น (post-emergence herbicide)ในขณะที่ไกลโฟเซตและสารกำจัดวัชพืชสูตรที่มีส่วนผสมของไกลโฟเซตหลากหลายสูตรได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่กำกับดูแลให้ใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชในหลายประเทศทั่วโลก ความวิตกกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมจากการที่มีการใช้ไกลโฟเซตมากเกินไปก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไกลโฟเสต http://www.chemspider.com/3376 http://www.monsanto.com/monsanto/layout/sci_tech/c... http://pages.stern.nyu.edu/~lcabral/teaching/monsa... http://extoxnet.orst.edu/pips/glyphosa.htm http://npic.orst.edu/factsheets/glyphogen.pdf http://npic.orst.edu/factsheets/glyphotech.pdf http://ecb.jrc.ec.europa.eu/esis/index.php?GENRE=E... http://www.epa.gov/oppsrrd1/REDs/factsheets/0178fa... http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://www.inchem.org/documents/icsc/icsc/eics0160...