ลักษณะทั่วไป ของ ไซบีเรียนฮัสกี

ไซบีเรียนฮัสกีเพศเมียสีแดงอ่อน

ไซบีเรียนฮัสกีมีรูปร่างลักษณะภายนอกคล้ายกับอลาสกัน มาลามิวท์เช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่น ๆ ที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขวงศ์สปิตซ์เช่นซามอย ไซบีเรียนฮัสกีมีขนหนาแน่นกว่าสุนัขสายพันธุ์อื่น มีสีและรูปแบบขนที่หลากหลาย โดยปกติมีสีขาวที่เท้า ขา ท้อง รอบตาหรือเป็นหน้ากากที่หน้า และที่ปลายหาง ทั่วไปมีสีดำ-ขาว เทา-ขาว ทองแดง-ขาว และขาวปลอด และยังมีแบบที่เป็นเอกลักษณะเฉพาะ เช่น สีอ่อน แต้มจุด แว่นตา ฯลฯ บางครั้งก็มีลักษณะคล้ายหมาป่าเกิดขึ้นเพราะเป็นหมากลุ่มสปิตซ์ม มีความใกล้ชิดกับหมาป่าหรือสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดเลย คิดว่าเกิดจากการเพาะพันธุ์ที่ไซบีเรียแล้ว

ไซบีเรียนฮัสกี "ตา 2 สี" "จมูกหิมะ"(สีแดง)

ตา

สีตาของไซบีเรียนฮัสกีที่เป็นที่ยอมรับมีสีฟ้าหรือน้ำตาลเข้ม, เขียว, น้ำตาลอ่อน, เหลือง/อำพัน, "แก้วตาหลายสี" หรือตาเฮเซล (Hazel) เป็นจุดบกพร่องร้ายแรงที่แสดงวงสีต่างกันในแก้วตา รวมถึงตาข้างนึงสีน้ำตาลอีกข้างสีฟ้า (complete heterochromia) หรือตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างมีสี "แบ่งส่วน" น้ำตาลครึ่งฟ้าครึ่งนึง (partial heterochromia) นี่คือสีตาทั้งหมดที่ถูกพิจารณายอมรับโดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา ตาต้องเป็นรูปอัลมอนด์ เว้นระยะห่างกันปานกลาง วางตัวเฉียงเล็กน้อย[6]

หูและหาง

หูเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนสมบูรณ์ ขนาดกลาง และตั้งชัน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการพัฒนาพันธุ์โดยสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข เช่นสมาคมพัฒนาพันธุ์สุนัข (สหรัฐอเมริกา) ที่มีรูปหูที่เรียกว่าหูผึ่ง (prick ears) หางเป็นพู่เหมือนหางหมาจิ้งจอกรูปเคียวโค้งเหนือหลังและลากหางไปด้านหลังเมื่อเคลื่อนไหว ไซบีเรียนฮัสกีส่วนมากมีสีขาวตรงปลายหาง หางต้องไม่โค้งจนแตะหลังเหมือนสปิตซ์ สีออกแกมขาว

ขน

ขนของไซบีเรียนฮัสกีมี 2 ชั้น ขนชั้นในที่หนาแน่นและขนชั้นนอกที่ยาวกว่า ขนชั้นนอกยาวตรงและบางส่วนเหยียดเรียบไม่ชี้ชันตั้งตรงจากลำตัว ที่สามารถปกป้องมันจากความรุนแรงของฤดูหนาวขั้วโลกเหนือได้ (−50 °C to −60 °C[7]) แต่ขนที่หนานั้นทำให้ระบายความร้อนได้ยากในฤดูร้อน ส่วนขนยาวแบบที่เรียกว่า "ฮัสกีขนแกะ" (wooly huskies) นั้นไม่เป็นที่ยอมรับ และไม่มีสิทธิ์ลงแข่งในสนามประกวดดูสีขนเพิ่มเติม

จมูก

จมูกของไซบีเรียนฮัสกีมีสีดำในสีเทาในสุนัขสีแทนและสีดำ สีเลือดหมูในสุนัขสีทองแดง และอาจจะมีสีเนื้อในสุนัขสีขาว ไซบีเรียนฮัสกีบางตัวมีจมูกที่เรียกว่า "จมูกหิมะ" เป็นสภาวะที่เรียกว่าผิวด่าง (hypopigmentation) ในสัตว์ และสุนัขที่มี "จมูกหิมะ"

ขนาด

ในการเพาะพันธุ์ ไซบีเรียนฮัสกีมีมาตรฐานดังนี้ เพศผู้สูง 21 - 23.5 นิ้ว (53.5 - 60 ซ.ม.) หนัก 45 - 60 ปอนด์ (20.5 - 28 กิโลกรัม) เพศเมียมีขนาดเล็กกว่า สูง 20 - 22 นิ้ว (50.5 - 56 ซ.ม.) หนัก 35 - 50 ปอนด์ (15.5 - 23 กิโลกรัม)[6]

อารมณ์

ไซบีเรียนฮัสกีที่มีตาสีฟ้าน้ำแข็ง

ไซบีเรียนฮัสกีก็เหมือนสุนัขใช้งานทั่ว ๆ ไปที่มีพลังงานสูงต้องการการออกกำลังมาก มันควรได้รับการปฏิบัติแบบเพื่อนเดินทางและสุนัขลากเลื่อนไม่ใช่สุนัขอารักขา การรวมกันของปัจจัยนี้ส่งผลให้ไซบีเรียนฮัสกีมีจิตประสาทที่สุภาพอ่อนโยนและซื่อสัตย์[8]

ชาวอินูอิต (Inuit) พัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพื่อใช้ลากเลื่อนหนักเป็นระยะทางไกล ๆ และสามารถเอาตัวรอดได้การภูมิประเทศที่หนาวเย็นแบบทุนดรา (tundra) และช่วยในการล่าสัตว์[2]

ไซบีเรียนฮัสกีเพศเมีย อายุ 6 เดือน กำลังเล่นในหิมะ

พฤติกรรม

พฤติกรรมของไซบีเรียนฮัสกีถูกมองว่าเป็นตัวแทนบรรพบุรุษของสุนัขบ้าน นั่นก็คือหมาป่า มันแสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมของเทือกเถาเหล่ากอแบบกว้าง ๆ [9] บ่อยครั้งที่ชอบหอนมากกว่าเห่า[10] การแสดงออกที่มากเกินไปเกิดจากการถูกขับด้วยสัญชาตญาณในการล่า บุคลิกลักษณะของสุนัขที่เกิดจากการเพาะพันธุ์บ่อยครั้งที่เห็นได้ชัดในพฤติกรรมการละเล่นหรือไล่จับสิ่งต่างๆในสิ่งแวดล้อมที่สุนัขแสดงออกมาคล้ายกับสุนัขล่าเนื้อมากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยง มันชอบวิ่งเป็นพิเศษ หรือหลาย ๆ คนมักจะชอบมองว่าเป็นสุนัขปัญญาอ่อน น่าจะเป็นเพราะจากประวัติการเพาะพันธุ์ในอเมริกาเหนือ ในการฝึกสุนัขให้เชื่อฟังคำสั่งควรใช้เวลา 15 นาที/วันดีที่สุด และทำทุกวัน แต่บางครั้ง ไซบีเรียนฮัสกีจะเป็นสุนัขที่คนชอบเห็นว่าเป็นสุนัขที่ขี้เล่นติ๊งต๊องหรือชอบวิ่งเล่นมากกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ๆ บางตัวก็อาจจะไม่เชื่องเลยก็เป็นได้ แม้กระทั่งการฝึกให้จำทางกลับบ้านก็จะเป็นเรื่องยากที่สุดสำหรับไซบีเรียนฮัสกีได้เช่นกัน[11]