กลไกการออกฤทธิ์ของไซยาไนด์ ของ ไซยาไนด์

กลไกการเกิดพิษของสารกลุ่มไซยาไนด์นั้น เกิดจากไปจับกับ Cellular Cytochrome Oxidase ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจของเซลล์)[1]

พิษของ cyanide เกิดจาก CN- จะจับกับโมเลกุลที่มีประจุบวก ที่สำคัญคือ โมเลกุลของ เหล็ก (Fe) ซึ่งมีทั้ง Ferrous (Fe 2+) ซึ่งอยู่ใน hemoglobin ปกติ และ Ferric ion (Fe 3+) ซึ่งอยู่ใน myoglobin ปกติ แต่ CN- จะจับกับ Ferric ion ได้ดีกว่า Ferrous ทำให้เมื่อ CN- เข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับ Ferric ion ใน myoglobin เนื่องจาก myoglobin ทำงานในระบบ electron transport ที่ mitochondria ทำให้ได้ พลังงาน น้ำ และ carbon dioxide เมื่อ CN- จับกับ myoglobin ก็จะขัดขวางไม่ให้ขบวนการ electrontransport ทำงานได้ตามปกติ เซลล์ของ ร่างกายจึงอยู่ในสภาพของ anoxia และเกิดภาวะ lactic acidosis ในที่สุด สมองเป็นอวัยวะที่ทนต่อภาวะ anoxia ได้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงมักมีอาการทางสมองเช่น ชัก หมดสติ มีการหายใจผิดปกติเนื่องจาก มีการกดศูนย์ควบ คุม การหายใจ แต่ผู้ป่วยไม่เขียว (cyanosis) ในช่วงแรก ๆ ถึงแม้ว่าจะหยุดหายใจเนื่องจากร่างกาย ไม่สามารถใช้ออกซิเจน ได้ ในทางการแพทย์สามารถยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจ Fundi จะพบว่ามีสีของเส้นเลือดดำและแดงใน retina ไม่แตกต่างกัน สำหรับใน chronic cyanide poisoning มักจะเป็นแบบ hypoxic encephalopathy อาจจะแสดงออก ในลักษณะ neuropsychiatry ส่วนเส้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (optic nerve) มักจะมีรายงานถึงพิษจาก cyanide เป็นแบบ optic nerve atrophy[2]

ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน

  1. ACGIH TLV (2012) Hydrogen cyanide and cyanide salts, as CN – Hydrogen cyanide C = 4.7 ppm [skin], Cyanide salts C = 5 mg/m3 [skin]
  2. NIOSH REL – Hydrogen cyanide STEL = 4.7 ppm (5 mg/m3) [skin], IDLH = 50 ppm, Other cyanides (e.g. Sodium cyanide, Potassium cyanide) C = 4.7 ppm (5 mg/m3) [10-minute], IDLH = 25 mg/m3
  3. OSHA PEL – Hydrogen cyanide TWA = 10 ppm (11mg/m3) [skin], Other cyanides (e.g. Sodium cyanide, Potassium cyanide) TWA = 5 mg/m3
  4. กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของไทย

ค่ามาตรฐานในร่างกาย การตรวจระดับไซยาไนด์ในเลือดและปัสสาวะนั้นสามารถทำได้ แต่ไม่มีประโยชน์ในการเฝ้าระวังสุขภาพคนทำงาน เนื่องจากโดยปกติจะตรวจพบไซยาไนด์ในระดับต่ำ ๆ ในร่างกายคนทั่วไปอยู่แล้ว อีกทั้งไซยาไนด์ยังถูกกำจัดออกไปจากร่างกายได้อย่างรวดเร็ว จึงมักตรวจไม่พบ ปัจจุบันจึงยังไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือองค์กรใด รวมถึงองค์กร ACGIH กำหนดค่ามาตรฐานในร่างกายคนทำงานสำหรับสารนี้ไว้

คุณสมบัติก่อมะเร็ง ยังไม่มีองค์กรที่น่าเชื่อถือองค์กรใดทำการประเมินไว้

อาการทางคลินิก

  • อาการเฉียบพลัน ทางเข้าสู่ร่างกายนั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจ ทางการกินและซึมผ่านผิวหนัง หากได้รับเข้าไปปริมาณมากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ ทำให้เซลล์เสียชีวิตได้
  • อาการระยะยาว การสัมผัสสาร thiocyanate ในระยะยาว อาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้ มีอาการแขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ และโรคของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีรายงานในคนงานโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และคนงานขัดเครื่องเงิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไซยาไนด์ http://www.npi.gov.au/database/substance-info/prof... http://www.snopes.com/food/warnings/apples.asp#add http://www.atsdr.cdc.gov/MHMI/mmg8.html http://www.cdc.gov/niosh/ http://www.acgih.org/ http://www.inchem.org/documents/antidote/antidote/... http://www.inchem.org/documents/cicads/cicads/cica... http://www.summacheeva.org/index_book_biomarker.ht... http://www.summacheeva.org/index_book_thaitox.htm http://www.summacheeva.org/index_thaitox_cyanide.h...