ไดโปรโตดอน
ไดโปรโตดอน

ไดโปรโตดอน

ไดโปรโตดอน หรือ วอมแบตยักษ์ หรือ วอมแบตแรด (อังกฤษ: giant wombat, rhinoceros wombat) เป็นชื่อเรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งเคยได้พบที่ทวีปออสเตรเลียเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน แต่ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วไดโปรโตดอนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีกระเป๋าหน้าท้องที่ใหญ่ที่สุดและมันเป็นอาหารของนักล่าอย่าง สิงโตมาซูเฟียว และ เมกะลาเนียไดโปรโตดอน จัดอยู่ในสกุล Diprotodon มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัววอมแบต แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ประมาณ 2 เมตร ลำตัวยาว 3 เมตร น้ำหนักราว 3 ตัน ขณะที่วอมแบตทั่วไปสูงเพียง 25 เซนติเมตร ยาวเกือบ 1 เมตร และมีน้ำหนักราว 20-45 กิโลกรัมเท่านั้นไดโปรโตดอน อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเช่น ห้วยหนองคลองบึง ทั่วไป สาเหตุการสูญพันธุ์ของไดโปรโตดอน ปัจจุบันไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน เนื่องจากนักบรรพชีวินวิทยามีทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี โดยทฤษฎีแรกเชื่อว่า มันสูญพันธุ์ไปเองโดยสาเหตุธรรมชาติ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าสูญพันธุ์เพราะถูกล่าจากมนุษย์ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอะบอริจินส์ ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย ทั้งที่มีหลักฐานบ่งว่ามนุษย์เพิ่งอพยพมาสู่ออสเตรเลียครั้งแรกเมื่อ 5,000 ปีก่อนนี้เอง[1]อย่างไรก็ดี มีความเชื่อของชาวอะบอริจินส์อยู่ประการหนึ่ง ถึงสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่ดุร้ายและกินมนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงเป็นอาหาร ที่มีชื่อว่า "บันยิป" (Bunyip) โดยเชื่อว่า บันยิปเป็นวิญญาณของสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ที่มารวมกัน และเชื่ออีกว่าบันยิปจะอาศัยอยู่ตามพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ทั่วออสเตรเลีย จึงมีการสันนิษฐานว่า หากบันยิปมีอยู่จริง ก็อาจจะเป็นไดโปรโตดอนที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ก็เป็นได้[2]