กาสาวะของพุทธศาสนายุคแรก ของ ไตรจีวร

การครองจีวร หรือ กาสาวะในช่วงพุทธศาสนายุคแรก หรือในยุคที่พุทธศาสนายังรุ่งเรืองในอินเดีย (Indian Buddhism) มีความแตกต่างหลากหลายไปตามคณะนิกายต่างๆ ความแตกต่างนี้ไม่เพียงสื่อถึงสำนักนิกายในสังกัดเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงความแตกต่างในพระวินัยอีกด้วย ระหว่างปี ค.ศ. 148 - 170 อันซื่อเกา (安世高) พระภิกษุชาวปาร์เตีย (Parthia) จาริกมาถึงแผ่นดินจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่าน ได้แปลปกรณ์วิเศษเกี่ยวกับการครองผ้า และสีสันจีวรของ 5 นิกายหลักของพุทธศาสนาในอินเดีย ปกรณ์วิเศษที่ว่านี้มีชื่อว่า "มหาภิกษุเสขิยวัตร 3,000 ประการ" (大比丘三千威儀) อีกปกรณ์ที่พรรณนาถึงการครองผ้าและสีจีวรในลักษณะเดียวกันคือคัมภีร์ศาริปุตรปริปฤจฉา ข้อแตกต่างระหว่าง 2 คัมภีร์ก็คือ สีจีวรของนิกายสรวาสติวาทกับนิกายธรรมคุปตกะสลับกัน

นิกายมหาภิกษุเสขิยวัตรศาริปุตรปริจจฉา
สรวาสติวาทแดงเข้มดำ
ธรรมคุปตกะดำแดงเข้ม
มหาสังฆิกะเหลืองเหลือง
มหีศาสกะน้ำเงินน้ำเงิน
กาศยปียะสีจำปาสีจำปา