คำอธิบาย ของ ไทม์โดเมนรีเฟลกโตมิเตอร์

เมื่อพิจารณาถึงกรณีที่ปลายสุดของสายเคเบิล คู่สายทั้งสองถูกช๊อตเข้าหากัน (นั่นคือบรรจบกันทำให้อิมพีแดนซ์มีค่าเป็นศูนย์โอห์ม) เมื่อขอบขึ้นของพัลส์ถูกส่งเข้าไปในสายเคเบิล แรงดันไฟฟ้าที่จุดป้อนเข้าจะ "โดดขึ้น" ไปที่ค่าที่กำหนดทันทีทันใดและพัลส์ก็เริ่มต้นที่จะกระจายไปตามความยาวของสายเคเบิลไปยังปลายสาย เมื่อพัลส์กระทบกับจุดที่ช๊อต พลังงานจะไม่ถูกดูดซับที่ปลายสุด แทนที่จะมีการดูดซับ พัลส์จะสะท้อนจากจุดช๊อตกลับมาที่ต้นทาง เมื่อพัลส์สะท้อนกลับนี้กลับไปถึงต้นทาง มันเป็นเวลาเดียวกับที่แรงดันไฟฟ้าที่จุดนั้นลดลงไปทันทีทันใดกลับไปที่ศูนย์ เป็นการส่งสัญญาณความจริงที่ว่ามีการช๊อตที่ปลายของสายเคเบิล นั่นคือ TDR จะไม่เห็นว่ามีการช๊อตที่ปลายของสายเคเบิลจนกระทั่งพัลส์ที่มันปล่อยออกไปสามารถเดินทางไปตามสายเคเบิลที่ประมาณความเร็วของแสงและการสะท้อนสามารถเดินทางกลับมาที่จุดเริ่มต้นที่ความเร็วเดียวกัน มันก็เป็นเพราะการล่าช้าในการเดินทางไปกลับนี้เท่านั้นที่ TDR สามารถรับรู้ถึงการช๊อตได้ สมมติว่าเรารู้ความเร็วในการแพร่กระจายสัญญาณในสายเคเบิลที่อยู่ภายใต้การทดสอบ ดังนั้นด้วยวิธีนี้ระยะทางไปยังจุดที่ช๊อตก็สามารถวัดได้

ผลที่คล้ายกันจะเกิดขึ้นถ้าปลายสุดของสายเคเบิลเป็นวงจรเปิด (ถูกบรรจบแบบให้อิมพีแดนซ์มีค่าเป็นอนันต์) แต่ในกรณีนี้การสะท้อนจากปลายสุดจะมีขั้วเดียวกันกับพัลส์เดิม ดังนั้นหลังจากที่มีการล่าช้าในการเดินทางไปกลับ แรงดันที่ TDR จึงแสดงเส้นวาดออกมาเป็นพัลส์สองตัวมีค่าเท่ากัน

โปรดสังเกตว่าถ้ามีการบรรจบอย่างสมบูรณ์แบบในทางทฤษฎีที่ปลายสุดของสายเคเบิล พัลส์ที่ใส่เข้าไปในเคเบิลจะดูดซึมอย่างหมดสิ้น จึงไม่ก่อให้เกิดการสะท้อนใด ๆ ในกรณีนี้มันจะเป็นไปไม่ได้ที่จะวัดความยาวจริงของสายเคเบิล โชคดีที่การบรรจบอย่างสมบูรณ์แบบนี้สามารถหาได้ยากมากและการสะท้อนขนาดเล็กบางส่วนจะเกิดขึ้นได้เกือบตลอดเวลา

ขนาดของการสะท้อนจะถูกเรียกว่าค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนหรือ ρ มีช่วงจาก 1 (วงจรเปิด) ถึง -1 (ลัดวงจร) ค่าเป็นศูนย์หมายถึงว่าไม่มีการสะท้อน ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนสามารถคำนวณได้ดังนี้:

ρ = Z t − Z o Z t + Z o {\displaystyle \rho ={\frac {Z_{t}-Z_{o}}{Z_{t}+Z_{o}}}}

เมื่อ Zo ถูกกำหนดให้เป็นอิมพีแดนซ์ลักษณะของตัวกลางการส่งและ Zt เป็นอิมพีแดนซ์ที่ปลายสุดของสายส่ง

จุดขาดบนสายเคเบิลใด ๆ สามารถมองว่าเป็นอิมพีแดนซ์ของการบรรจบและถูกแทนค่าด้วย Zt ซึ่งรวมถึงการอย่างกระทันหันในอิมพีแดนซ์ลักษณะของสายเคเบิลนั้นด้วย ตัวอย่างเช่นเส้นวาดบน TDR ที่วัดได้ที่ช่วงกลางของแผงวงจรมีความกว้างเป็นสองเท่าอาจหมายถึงสายวงจรขาด บางส่วนของพลังงานจะถูกสะท้อนกลับไปยังแหล่งที่มา; พลังงานที่เหลือจะถูกส่งออกไป ปรากฏการณ์นี้เรียกว่ารอยต่อกระเจิง (อังกฤษ: scattering junction)