ประวัติ ของ ไทย_(หนังสือพิมพ์)

หนังสือพิมพ์ ไทย ออกในปี พ.ศ. 2451 ต่อมาเลิกกิจการเพราะมีหนี้สินมากมาย รัฐบาลได้ซื้อไว้ และออกใหม่ภายใต้ชื่อว่า ไทยใหม่ เพื่อหลีกปัญหาหนี้สินเก่า โดยทางหนังสือพิมพ์กราบบังคมทูลรัชกาลที่ 6 ว่า "นับแต่ใช้ตราแผ่นดิน (ตราครุฑ) ประทับที่หัวหนังสือหน้า 1 แล้วก็มีผู้นิยมอ่านมากขึ้น ผู้บอกรับประจำ เดิมมี 300 คน เพิ่มเป็น 500 คน แต่ราคาขายยังคงเดิม คือรับประจำปี ปีละ 30 บาท ขายปลีกฉบับละ 3 สตางค์ จึงกราบบังคมทูลขอเงินเพิ่มอีกเป็นรายได้ประจำ 4,000 บาทตั้งแต่ ร.ศ. 131 เพื่อลดราคา"[1]

ไทย ยังคงยังไม่ได้ทำหน้าที่เป็นของรัฐบาลเต็มตัว แม้จะมีตราครุฑประทับอยู่ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ จึงได้กราบบังคมทูลให้มีหนังสือพิมพ์ที่ทำหน้าที่เป็นปากเสียงของรัฐบาลโดยตรง เหมือนกับเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของรัฐเนื่องจากเวลานั้นมีหนังสือพิมพ์เป็นสื่อมวลชนชนิดเดียวที่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งหน่วยงานรัฐคือกระทรวงมุรธาธรที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์โดยตรง ไทย จึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่มาตั้งแต่นั้น

ในปี พ.ศ. 2457 อันเป็นปีความรุนแรงแห่งสงครามปากกา พระราชทานเงินให้ ไทย อีก 20,000 บาท เพื่อจัดการโรงพิมพ์ให้เรียบร้อย ไทย ได้เสนอข่าวตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งยังขอสิทธิพิเศษในการลงข่าวการประชุมเสนาบดีบางเรื่องที่ไม่ปิดบังด้วย[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ไทยเปลี่ยนเจ้าของเป็นพระยาอิศรพันธุ์ ได้เลิกกิจการเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ใกล้เคียง