ภาษา ของ ไทยเชื้อสายโปรตุเกส

บ้านเลขที่ 130 (บ้านหลุยส์ วินด์เซอร์) อายุเก่าแก่กว่าร้อยปีวัดคอนเซ็ปชัญ ปัจจุบันมี 183 ปี เป็นหนึ่งในโบสถ์คาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย[2]

ฝรั่งโปรตุเกสกุฎีจีนกลุ่มนี้ได้แต่งงานผสมผสานกับคนไทย มีลูกหลานสืบเชื้อสายจนถึงปัจจุบัน เช่นตระกูลทรรทรานนท์(สืบเชื้อสายมาจากสกุล Da Cruz ) จันทรัคคะ ดากรู้ด สิงหทัต จาค๊อป สงวนยวง เดฮอตา นพประไพ สงวนแก้ว ฯลฯ มรดกที่ตกทอดจากตระกูลวงศ์แล้ว ผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยบริเวณข้างโบสถ์ซางตาครู้สบางคนได้ให้ข้อมูลว่าแต่ก่อนมีการใช้คำว่า “อาโว” เป็นสรรพนามเรียกแม่เฒ่า และ “จง” เป็นสรรพนามเรียกพ่อเฒ่า ส่วนในบ้านโบสถ์คอนเซ็ปชัญยังมีตระกูล ดาครุส โรดิเกส ลิเบโรย และใช้ภาษาโปรตุเกสบ้างอย่างคำว่า “ป๋าย” แปลว่าพ่อ ติว แปลว่า อาผู้ชาย เต แปลว่า อาผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีอาหารการกินที่เป็นเอกลักษณ์ และในอดีตเคยใช้ชาวโปรตุเกสจากที่ชุมชนกุฎีจีนติดต่อค้าขายกับต่างประเทศด้วย จนเรียกว่าชาวโปรตุเกสที่บ้านกุฎีจีนเป็นฝ่ายบุ๋น และฝ่ายบ้านคอนเซ็ปชัญเป็นฝ่ายบู๊[3] เนื่องจากสืบเชื้อสายของพระยาวิเศษสงครามรามภักดี ต้นตระกูลวงศ์ภักดี และวิเศษรัตน์ ชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสทั้งสองกลุ่มจะมีความแตกต่างกันบ้าง อย่างที่ชุมชนคอนเซ็ปชัญจะอยู่ปะปนกันทั้งชาวโปรตุเกส เขมร และญวน ส่วนที่ชุมชนกุฎีจีนชาวโปรตุเกสจะมีปะปนอยู่กับชาวจีน และญวน

ใกล้เคียง

ไทยเชื้อสายจีน ไทยเชื้อสายโปรตุเกส ไทยเชื้อสายมลายู ไทยเชื้อสายเปอร์เซีย ไทยเชื้อสายอินเดีย ไทยเชื้อสายญวน ไทยเชื้อสายจาม ไทยเชื้อสายชวา ไทยเชื้อสายเขมร ไทยเบฟเวอเรจ