ที่มาของเพลง ของ ไทอะเยลโลว์ริบบอนราวด์ดิโอลโอ๊กทรี

แนวความคิดเริ่มต้นในการผูกริบบอนสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์นั้นเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ที่หญิงสาวที่ผูกริบบอนสีเหลืองที่ผมเพื่อบ่งบอกถึงการอุทิศให้สามีหรือคนรักในกองทหารม้าของสหรัฐอเมริกา (แต่งในเครื่องยศ) และเพลง "She Wore a Yellow Ribbon" ก็เป็นแรงบันดาลใจให้ภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันของจอห์น เวย์น

สัญลักษณ์ริบบอนสีเหลืองเป็นที่รู้จักกันถ้วนหน้าของพลเรือนในคริสต์ทศวรรษ 1970 เป็นการรำลึกถึงการจากไปของคนรัก ไม่ว่าจะเป็นทหารหรือไปอยู่ในคุก ที่พวกเขาจะเป็นที่ต้อนรับในการกลับบ้านเสมอ ในสิงคโปร์ Singapore Prison Service ได้ใช้ชื่อโครงการว่า เยลโลว์ริบบอน โดยได้แรงบันดาลใจจากเพลงนี้เช่นกัน

ในเดือนตุลาคม 1970 นักหนังสือพิมพ์ พีต ฮามิลล์เขียนบทความลงในนิวยอร์กโพสต์ เรื่อง "Going Home" เกี่ยวกับเด็กนักเรียนมหาวิทยาลัยที่ไปเที่ยวโดยรถบัสไปยังชายหาดในฟอร์ดลอเดอร์เดล และเป็นเพื่อนกับอดีตนักโทษที่มองดูผ้าเช็ดหน้าสีเหลืองบนต้นโอ๊กข้างถนนในบรันส์วิก รัฐจอร์เจีย ซึ่งฮามิลล์ก็อ้างว่าเคยได้ยินเรื่องราวปากต่อปากเช่นนี้มาก่อน

เดือนมิถุนายน 1972 หลังจากนั้น 6 เดือน บทความ "Going Home" ถูกตีพิมพ์อีกครั้ง และเอบีซี-ทีวี ก็ได้ออกอากาศรายการที่แสดงโดยเจมส์ เอิร์ล โจนส์ รับบทเป็นนักโทษที่กลับมา หลังจากนั้นเดือนครึ่ง เออร์วิน เลวีนและ แอล. รัสเซลล์ บราวน์จดลิขสิทธิ์เพลง "ไทอะเยลโลว์ริบบอนราวด์ดิโอลโอ๊กทรี" ผู้เขียนพูดว่าได้ยินเรื่องราวของทหารม้า ขณะที่พีต ฮามิลล์ต้องการฟ้องร้องการละเมิดมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฮามิลล์ตัดสินใจทำเช่นนี้เพราะ เดือนพฤษภาคม 1993 เพลงนี้ขายได้ 3 ล้านชุดภายในเวลา 3 สัปดาห์ ขณะที่สถานีวิทยุต่างถล่มเล่นเพลงนี้ถึง 3 ล้านครั้ง ในเวลา 17 ปีต่อกัน แต่ฮามิลล์ก็ยกฟ้องไป

ในปี 1979-1980 ขณะที่ทูตอเมริกันถูกจับตัวโดยนักเรียนชาวอิหร่านในสถานทูตอเมริกาที่เมืองเตหะราน โครงการริบบอนสีเหลืองถูกใช้เพื่อสนับสนุนการถูกจับตัว

และในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 เพลงนี้ยังรู้จักกันอย่างกว้างขวางในฟิลิปปินส์ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ของการที่นางคอราซอน อากีโน นำแนวร่วมปฏิวัติพลังประชาชนโค่นล้มอำนาจเผด็จการของ นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส