ลักษณะ ของ ไฟป่า

เดิมคำ "wildfire" ในภาษาอังกฤษเป็นไวพจน์ของ "Greek fire" หรือ เพลิงกรีก อันเป็นชื่อเรียกเพลิงที่ใช้ปล่อยใส่คู่รบในสมัยจักรวรรดิไบแซนไทน์ เพลิงกรีกนี้มีอานุภาพมากถึงขนาดที่ไหม้ได้แม้ในน้ำ ทั้งนี้ เพราะคำว่า "wild" นอกจากหมายความว่า ป่า แล้ว ยังหมายความว่า ป่าเถื่อน ก็ได้ แต่บัดนี้ คำ "wildfire" ใช้หมายถึงไฟป่าเท่านั้น[2]

ไฟป่าหมายเอาเพลิงที่เกิดในทุ่งหญ้า, ป่าไม้, ป่าพุ่ม, ป่าละเมาะ, ป่าหินเลน (peatland) และบริเวณอื่นที่ป่าชุก และมีแหล่งเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟ อนึ่ง ไฟป่าอาจลามไปยังสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ก็ได้

สาเหตุของไฟป่านั้นมีมากหลาย แต่ผลลัพธ์ของมันนั้นมีเพียงหนึ่ง คือ ความเสียหายเป็นวงกว้าง ไฟป่าลุกลามและร้ายแรงได้มากถ้ามีเชื้อเพลิงและอากาศเป็นปัจจัยเกื้อหนุน[10][11][12] ไฟป่าอาจมหึมาจนควบคุมมิได้ เพราะมีประวัติว่าใหญ่โตถึงขนาดทำลายอาณาบริเวณตั้งแต่ 0.4 ถึง 400 ตารางกิโลเมตรมาแล้ว และแน่นอนว่า ไฟป่าสามารถใหญ่โตได้มากกว่านี้ ขณะเดียวกัน ไฟป่าก็อาจเล็กราว ๆ 0.0010 ตารางกิโลเมตร หรือน้อยกว่าก็ได้[13][14][15] ไฟป่าขนาดเล็กมักไม่เป็นที่สนใจของสื่อมวลชน นักวิชาการเห็นว่านี้เป็นปัญหาอย่างยิ่ง เพราะการที่สื่อนำเสนอแต่ไฟป่าขนาดใหญ่นั้น มีอิทธิพลเป็นอันมากต่อนโยบายสาธารณะด้านไฟป่า ซึ่งควรหมายถึงไฟป่าไม่ว่าจะป่าเล็กหรือป่าใหญ่[16][17][18]

สาเหตุ

ไฟป่าอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติเพราะเหตุสี่ประการ คือ ฟ้าผ่า, ภูเขาไฟระเบิด, ประกายไฟจากหินถล่ม และสันดาปเอง (spontaneous combustion)[19][20] อนึ่ง ถ่านหินจำนวนมากที่อยู่ใต้พิภพรอบโลก เช่น ที่ในเซนทราเลีย, เขาเบิร์นนิง และประเทศจีน บางคราวก็ประทุและติดเพลิงให้แก่วัตถุไวไฟใกล้เคียงได้[21]

ไฟป่าส่วนใหญ่นั้นเกิดเพราะมนุษย์ ตั้งแต่ลอบวางเพลิง, ทิ้งบุหรี่เรื่อยเปื่อย, ประกายไฟจากอุปกรณ์ ไปจนถึงกระแสพลังงานในการเชื่อมโลหะ[22][23] การทำไร่เลื่อนลอย (shifting cultivation) ซึ่งเตรียมดินโดยวิธีถางแล้วเผา (slash and burn) นั้น แม้ประหยัดที่สุด แต่ก็เป็นสาเหตุของไฟป่าได้[24][25] เช่นเดียวกับการโค่นไม้ (logging) ที่จะเพิ่มจำนวนเชื้อเพลิงในป่า อุทาหรณ์เด่นชัดที่สุด คือ ไฟป่าอันเกิดทุกปีในเวียดนามใต้ มีสาเหตุประการหนึ่งถอยหลังไปถึงในสงครามเวียดนาม ที่กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้ายึดพื้นที่ แล้วทำลายป่าด้วยเคมี ระเบิด และเครื่องจักรกล[26]

อย่างไรก็ดี เหตุไฟป่านั้นย่อมแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น ในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ฟ้าผ่าเป็นปัจจัยหลักของการติดเพลิง ส่วนในแม็กซิโก, อเมริกาใต้, แอฟริกา, เอเชียใต้, ฟิจิ และนิวซีแลนด์ ไฟป่าเกิดเพราะกิจกรรมของมนุษย์เป็นหลัก เช่น การบำรุงพันธุ์สัตว์ (animal husbandry), เกษตรกรรม และการปรับปรุงดินด้วยการเผา อนึ่ง ในท้องที่อื่น ๆ ของจีน ความเลินเล่อของมนุษย์ก่อไฟป่าบ่อยครั้ง และในออสเตรเลีย ไฟป่าเกิดเพราะฟ้าผ่าและพฤติกรรมของมนุษย์พอ ๆ กัน โดยเฉพาะการทิ้งบุหรี่ไปเรื่อย และประกายไฟจากเครื่องกล[5]

ผลกระทบจากสภาพอากาศ

ไฟป่าอาจเกิดง่ายขึ้น เมื่อมีอากาศเกื้อหนุน ปัจจัยทางอากาศที่ก่อไฟป่าขนาดใหญ่นั้นรวมถึง คลื่นความร้อน, ความแห้งแล้ง, ความเปลี่ยนแปลงของอากาศเป็นวงรอบ อาทิ เอลนีโญ, ตลอดจนลักษณะอากาศประจำถิ่น เช่น ลิ่มความกดอากาศสูง[27][28]

ใกล้เคียง

ไฟป่า ไฟป่าในฟอร์ตมักเมอร์รีย์ พ.ศ. 2559 ไฟป่าในประเทศชิลี พ.ศ. 2567 ไฟป่าในรัฐฮาวาย พ.ศ. 2566 ไฟป่าบนเขาคาร์เมล พ.ศ. 2553 ไฟป่าแคว้นแอตติกา พ.ศ. 2561 ไฟป่าในรัสเซีย พ.ศ. 2553 ไฟป่าในประเทศโบลิเวีย พ.ศ. 2553 ไฟป่าป่าฝนแอมะซอน พ.ศ. 2562 ไฟพ่าย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฟป่า http://books.google.com/books?id=yT6bzpUyFIwC&pg=P... http://www.smithsonianmag.com/travel/10013541.html http://www1.voanews.com/english/news/a-13-2009-06-... http://web1.msue.msu.edu/emergency/pubs/wildfire_e... http://www.nifc.gov/fire_info/lg_fires.htm http://lwf.ncdc.noaa.gov/oa/reports/billionz.html http://www.nwcg.gov/pms/docs/wfprevnttrat.pdf http://www.nwcg.gov/pms/pubs/410-2/appendixB.pdf http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2006/11... http://dictionary.cambridge.org/define.asp?key=905...