การนำไปใช้ประโยชน์ ของ ไฟฟ้าสถิต

  • ใช้ในเครื่องถ่ายเอกสาร มีหลักการทำงานที่สำคัญคือ แผ่นฟิล์มที่ฉาบด้วยวัสดุตัวนำ ที่มีคุณสมบัติเป็นตัวนำเมื่อถูกแสงและเป็นฉนวนเมื่อไม่ได้ถูกแสง เมื่อเครื่องเริ่มทำงาน แผ่นฟิล์มจะถูกทำให้มีประจุไฟฟ้าบวกทั่วทั้งแผ่น และจะสอ่งแสงไปยังสิ่งพิมพ์ผ่านเลนส์ไปกระทบกับแผ่นฟิล์ม ส่วนที่เป็นสีขาวบนสิ่งพิมพ์แสงจะทะลุผ่านออกมากระทบแผ่นฟิล์ม ทำให้บริเวณที่ถูกแสงเป็นตัวนำ เป็นผลให้บริเวณนั้นมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนตัวอักษรหรือภาพลายเส้นที่เป็นสีดำจะดูดกลืนแสงจึงไม่ให้แสงผ่านออกมากระทบแผ่นฟิล์มทำให้บริเวณที่ไม่ถูกแสงบนแผ่นฟิล์มคงยังมีประจุไฟฟ้าบวกอยู่ เมื่อพ่นผงหมึกที่มีประจุไฟฟ้าลบไปที่แผ่นฟิล์ม ผงหมึกจะไปเกาะเฉพาะบริเวณที่มีประจุบวกเท่านั้น ส่วนบริเวณอื่นที่ไม่มีประจุไฟฟ้าก็จะไม่มีผงหมึกเกาะ ทำให้เห็นเป็นภาพของต้นฉบับบนแผ่นฟิล์ม และเมื่อกดแผ่นกระดาษประจุบวกลงบนแผ่นฟิล์มที่มีผงหมึกก็จะได้ภาพสำเนาปรากฏบนแผ่นกระดาษ นำกระดาษนี้ไปอบความร้อนเพื่อให้ผงหมึกติดแน่นก็จะได้ภาพสำเนาบนแผ่นกระดาษที่ชัดเจนและถาวร
  • ใช้ในการพ่นสี เครื่องพ่นสีใช้สำหรับพ่นผงหรือละอองสี เพื่อให้สีเกาะติดชิ้นงานได้ดีกว่าการพ่นแบบธรรมดา ใช้หลักการทำผงหรือละอองสีกลายเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าขณะผงถูกพ่นออกจากเครื่องพ่น มีผลให้ผงหรือละอองสีที่มีประจุไฟฟ้านั้นมแรงดึงดูดกับผิวชิ้นงานและจะเกาะติดชิ้นงานนั้นได้ดี
  • ใช้ในเครื่องพิมพ์ Inkjet
  • ใช้กับไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุ หลักการของไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุคือ ประกอบด้วยแผ่นโลหะ 2 แผ่นที่ขนานกัน แผ่นหนึ่งทำหน้าที่เป็นไดอะแฟรมรับคลื่นเสียง ส่วนแผ่นที่สองยึดติดกับฐาน โดยแผ่นที่รับคลื่นเสียงจะบางมากเมื่อมีคลื่นเสียงมากระทบ มันจะสั่นตามความถี่และกำลังของคลื่น ผลจากการสั่นของแผ่นบางนี้ จะทำให้ความจุไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง เมื่อต่อไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุนี้อนุกรมกับตัวต้านทานความต่างศักย์คร่อมไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุจะเปลี่ยนแปลงตามความถี่ของคลื่นเสียง เป็นผลให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า

ไมโครโฟนแบบตัวเก็บประจุนี้เราสามารถนำไปใช้กับการร้องเพลง การพูด จะได้เสียงที่ชัดเจน และเป็นไมโครโฟนที่นิยมใช้

  • ทางด้านการแพทย์

        ชุดประดิษฐ์เส้นใยนาโน

ผลงานรางวัลชมเชย ประจำปี 2549 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 

ผลงานประดิษฐ์ " ระบบอิเล็กโตรสปินนิ่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับประดิษฐ์เส้นใยนาโน ” ( Computer-controlled Electrospinning System for Nanofibres Fabrication ) จากทีมวิจัย ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับรางวัลชมเชยผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ( สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) ประจำปี 2549 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ( วช.)

ในปัจจุบัน เส้นใยนาโน (nanofibres) ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในวัสดุนาโนที่สำคัญ เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากเส้นใยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางในระดับนาโนเมตร ซึ่งมีข้อดี คือ มีอัตราส่วนระหว่างพื้นผิวต่อปริมาตร (surface-to-volume ratio) สูงมากกว่า 1,000 เท่า เมื่อเทียบกับเส้นใยในระดับไมโครเมตร (microfibres) และมีขนาดของรูพรุน (pore) ที่เล็ก ส่งผลทำให้มีสมบัติต่าง ๆ เช่น สมบัติเชิงกล สมบัติทางไฟฟ้า หรือสมบัติอื่น ๆ ที่ดีมาก เหมาะสำหรับงานเฉพาะด้าน   ซึ่งต้องการความได้เปรียบของขนาดที่จิ๋วแต่แจ๋ว ไปใช้ เช่น การประยุกต์ใช้งานของเส้นใยนาโนพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นพิษ และมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สำหรับงานทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก ( bone tissue engineering ) ผ้าปิดแผล (wound dressing) ระบบส่งยา (drug delivery system) ระบบการกรองอย่างละเอียด (ultrafiltration) เป็นต้น  สำหรับเทคนิคที่นำมาใช้ในการเตรียมเส้นใยนาโนมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีการมีข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป ซึ่ง เทคนิคอิเล็กโตรสปินนิ่ง (electrospinning) หรือ การปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต เป็นทางเลือกใหม่ที่ได้ถูกนำมาใช้เตรียมเส้นใยนาโนของวัสดุพอลิเมอร์ และสารอนินทรีย์ออกไซด์หลากหลายชนิด

มาตรฐานบังคับใช้

1.BS PD CLC/TR 50404:2003 รหัสของการปฏิบัติในการควบคุมไฟฟ้านิ่งที่ไม่พึงประสงค์

2.NFPA 77 (2007) ข้อควรปฏิบัติแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต

3.API RP 2003 (1998) การป้องกันการจุดระเบิดที่เกิดจากกระแสนิ่ง ฟ้าผ่าแ​​ละจรจัด

การป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นเพราะมีการสะสมของอะตอมหรือประจุไฟฟ้าในในร่างกาย รวมทั้งยังไปถึงสภาพอากาศที่แห้งอีกด้วย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น จึงมีวิธีการป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตนั่นก็คือ-ควรดื่มน้ำให้มากๆ ทาโลชั่นบำรุงผิว เพื่อไม่ให้ร่างกายหรือผิวพรรณนั้นแห้งกร้านที่เป็นตัวทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต-หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่เป็นขนสัตว์ และผ้าใยสังเคราะห์-ควรสวมใส่ถุงเท้าผ้าคอตตอน และเลือกใส่รองเท้าที่เป็นพื้นยาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไฟฟ้าสถิต http://www.aecouncil.com/Papers/aec1.pdf http://amasci.com/emotor/safe.html http://www.chevronglobalaviation.com/docs/aviation... http://process-equipment.globalspec.com/LearnMore/... http://books.google.com/?id=e_WMSd2AEq0C&pg=PA9 http://books.google.com/books?id=b88DAAAAMBAJ&pg=P... http://books.google.com/books?id=iIAisqtIeGYC&pg=P... http://www.springerlink.com/content/x67066333p6121... http://www.wolfsonelectrostatics.com/01_hazards/pd... http://www.wolfsonelectrostatics.com/04_news/index...